วันพุธที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Undemocratic Public-Private Collaboration in Thailand: Policy Responsiveness or Just a Discourse?


The political struggle in Thailand can be seen as the unfinished democratization project. Although we have already had the revolution for establishing the democratic regime since 1932 by a group of democrat bureaucrats and military, there were military-led 13 coup d'etat, and the constitution has been changed for 20 times during the "85 years of solitude" of Thailand politics. While the people once demonstrated on the road, demanded for democracy and successfully dethroned the military regime in 1973, they suffered from the mass massacre in 1976 by the right-wing military, police, and people who mistakenly believed that they were communists. We might experience genuine democracy after 1992, but we also faced the military coup again in 2006 and 2014. At present, we are currently divided into those who believe in democracy, and those who don't believe in it. 

In 2016, the military government implemented the provincial economic development policy, namely Pracha-rat (public-private collaboration) provincial economic development. It aimed to establish the provincial enterprise in each province for matching up the local farmers, fishermen, and tourist entrepreneurs with the elite businesses and private sector, under the provincial committee led by the non-elected provincial governor. The military government hoped that by doing so it would help local people for not only the production improvement of agricultural, handcrafting, and tourism "products" and know-how learning, but also increasing the opportunity for business loans and product distribution to the business partners such as big-chain department stores included in this initiative. This will lead to the increased prosperity for the local people in return. In short, this policy is the combination between the ideas of marketization and collaboration among different stakeholders.

This is an interesting policy movement in Thailand. Firstly, it was named as the collaboration  among governmental agencies, private sector, and citizens rather than partnership. In fact, even in one of the official documents also referred to the Western literature of collaborative governance. This could imply the emphasis of the notion of "the multi-sector participation" rather than the notion of "contractual" partnership. This leads to the second, perhaps more important, issue of how such collaboration could occur under the undemocratic regime. As the Western literature of collaborative governance assumes the participation under the democratic context, it is interesting in assessing the function of democratic-like collaboration under the different context, particularly in undemocratic era of Thailand.

However, we must be cautious on the hybrid form of such policy. Firstly, we just don't know that how people can involve in this initiative. There is no prior criteria in selecting which private business can join in this initiative, nor the  criteria for involving the local citizens to participate. We just saw it when the government launched the policy in the top-down fashion, and this initiative seemed to be limited in the sense that it secretly allows for only "handful" stakeholders to be included. Although one of the policymaker contended that everyone can involve to receive the services for business development, it is still unclear on who will benefit, and how (i.e. which type, scale, scope of business; levels of benefits; and etc.). It is true that there are currently collaborations between governmental agencies, private sector, nonprofit organizations, and citizens under democratic or undemocratic regime, as we can see in Thailand's healthcare networks, but those collaboration reflects much more voluntarism and democratic spirit than this initiative. If we hope that this initiative will be an expansion of democratic development by stimulating people to self-deterministic participate in the public policy arena, I think this is not the case.

Secondly, it can be seen that this initiative is another way for government to control its people, not to empower them. This can be seen through the organization's committee structure of the provincial enterprise of this initiative. The majority of them are government officials such as non-elected governor (in Thailand, the provincial governor is appointed by the central government, only the local mayor will be elected, but such democratic structure has been "frozen" by the military government), provincial bureaucrats from various ministries, the private businesses, and only a handful "representative" of the local citizens. By numbers, those bureaucrats and private sector's representatives accounted for more than two-third of the committee. Moreover, the hierarchical structure from the central organization toward the local enterprise also reflects that, in essence, there are some central's control rather than decentralized structure. As previous evidence show that the pathology of Thailand's public administration relies much on technicality of public management rather than empowering citizens (except the healthcare policy domain), this would conflict with the basis of collaboration and reflects the notion of control: the legitimization of the military government by giving a limited piece of democracy, instead of the whole process of election, decentralization and so forth. Power politics under such "collaboration", as a result, is uneven, and favor for government's control rather than people's learning and empowerment. 

Thirdly, even the word "Pracha-rat" (in Thai, in means the combination between the people and the state) has been used in various numbers of other current policies, transforming itself to be a meaningless slogan or only a buzzword. For example, the reformed national welfare for the poor has been renamed as "Pracha-rat welfare program", although there is no element of collaboration between different actors but only the Ministry of Finance. In a similar vein, the public housing program has also been renamed into "Pracha-rat housing program" without including other stakeholders other than the Government Housing Bank. Despite the fact that the Ministry of Public Health is genuinely understand the essence of collaboration by attempting to establish the community-led local public hospital committee for empowering the local people in developing their own welfare in terms of healthcare, the general use of "Pracha-rat" or public-private collaboration in huge numbers of policies in Thailand seems to be symbolic rather than practical. We are currently living in the world of buzzword that serves the bureaus as a dummy policy rather than the people instead.

To be fair, however, we need to evaluate the operation and outcomes of this collaborative economic development program for making legitimate arguments. In other words, the collaboration in Thailand may differs from what happened in the Western contexts in the sense that some collaborations (like healthcare networks) can also be empirically operated under whether democratic or undemocratic regime. The notion of democracy implicitly underpinned the notion of collaboration may be operated in a particular policy domain, but the national-level politics. We need more investigations in understanding how these collaborations operate (i.e. do they operate independently as self-governed network, or they are just the "expansion" of the central government through funding for the NGOs and citizens?), even the revisiting of the collaboration conception, then we can understand how the governmental controls and democratic development interact through the collaborative networks in each policy arena in particular, and the national politics in general. 

This also leads to the debates between those who believe that the existence of collaboration under the undemocratic regime is unacceptable, while some may contend that such collaboration is still necessary for public services delivery without realizing the importance of the democratic regime as a whole. This debate arises when the people in Thailand are divided, and the solidarity among us as can be seen in the golden era of democracy in 1973 is broken. Thus, Thailand's (national) politics and administration seem to be separated by some, although actually it is that (national) politics operated within the administration. Unlike China, we cannot move forward to the responsive government if genuine democracy is yet to be established, and only a piecemeal democratic collaborative networks, while necessary for public services delivery in a particular policy domain, is insufficient in the long run. We can understand the actual realities occurring now, but it is not enough for ensuring the good life for Thai citizens. The history of Thailand reflects much that welfare and responsive policies are derived from the democratic government, not the other way around. In this case, the Pracha-rat provincial economic development reflects pseudo-participation from citizens in determining their own ways of development and empowering them for the future. But it seems to be too early for claiming such an argument without evaluating the process and outcomes of such initiative. 

Things like collaborative governance and its politics seems to be more complicated than what happened in the Western countries for sure.

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เตรียมสอบ IELTS ยังไงให้ได้ Overall Band เกิน 6.5!

คุณกำลังประสบปัญหาเหล่านี้อยู่ใช่มั้ย...

มั่นใจว่าจะได้คะแนน Listening และ Reading เกิน 6.5 แต่กลับทำไม่ได้สักที

ไม่รู้ว่าต้องเขียนอะไรในข้อสอบ Writing เพื่อให้ได้ 6 ขึ้นไป

หรือเมื่อคุณกังวลว่าการสอบ Speaking ของคุณยังคงทำได้ไม่เกิน 6

เรามีทริคเล็กๆ น้อยๆ ในการสอบเพื่อให้ได้ Overall Band 6.5 !

*******

(1) 
ข้อแนะนำเบื้องต้น

อย่างแรกที่สุดเลยก็คือ เราต้องรู้ระดับของเราว่า เออตอนนี้เราน่าจะได้คะแนนประมาณเท่าไหร่ และต้องทำมากขนาดไหนกว่าจะได้คะแนนที่เราต้องการ จัดไปเลยครับ แนะนำให้ไปหาข้อสอบเก่าของ Cambridge (แนะนำตั้งแต่เล่มที่ 6-7 จนถึงปัจจุบัน - โดยเฉพาะเล่มล่าสุดๆ เพราะรูปแบบคำถามการสอบค่อนข้างจะอิงแนวนั้น) มาลองทำสัก 1 ชุด จับเวลา แล้วลองดูว่าคะแนนได้ Band เท่าไหร่บ้าง

สำหรับคนที่มีพื้นภาษาอังกฤษดี (ลองทำได้ 6 ขึ้นไป) ก็ขอแสดงความยินดีด้วย...คุณมีโอกาสได้ 6.5 ขึ้นไปในเวลาสามถึงสี่เดือนครับ ส่วนใครที่ได้ต่ำกว่านั้นไม่ต้องเสียใจไป มันแสดงให้เห็นว่าเราต้องใช้เวลาฝึกฝนภาษาอังกฤษมากกว่าคนที่มีพื้นดีครับ และอย่างน้อยมันทำให้เราพอเก็ทว่าข้อสอบจะสอบแนวไหนด้วย (ใช้เวลาสักครึ่งปีถึงหนึ่งปี สำหรับคนพื้นฐานน้อย - เช่น ได้ต่ำกว่า 5 ในแต่ละพาร์ท)

สำหรับคนที่ได้ต่ำกว่า 6 ในแต่ละพาร์ท ให้ลองดูว่าพาร์ทไหนที่เราไม่ถนัด แล้วก็ใช้เวลาฝึกฝนส่วนนั้นมากกว่าส่วนอื่น แต่ย้ำ! แค่มากกว่า ไม่ได้ให้ทิ้งส่วนอื่น เพราะบางคนย่ามใจคิดว่าได้ Reading 7.5 เลยไม่ฝึก แต่ไปฝึก Speaking ที่เคยได้ 5.5 อย่างเดียว ผลก็คือ Speaking ดีขึ้น แต่ Reading อาจลดลงก็ได้ ดังนั้นต้องฝึกทุก Skills ครับ

Listening: ทำยังไงก็ได้ให้เราคุ้นเคยกับการฟังภาษาอังกฤษ ที่นิยมกันมากคือฟังข่าว/สารคดี BBC ครับ ได้สาระและฝึกฝนไปพร้อมกัน วิธีการง่ายๆคือ เปิดกรอกหูมันเข้าไปครับ 555+ (ฟังใจความด้วยนะเฮ้ย)

บางคนอาจชอบฟังเพลง จัดไปครับ เพลงภาษาอังกฤษ ฟังมันเข้าไป ไม่เข้าใจก็ไปหาเนื้อเพลงมาดูแล้วฝึกร้อง

อีกวิธีที่ไม่น่าเชื่อว่าจะช่วยได้ คือลองฟัง Tape ของข้อสอบเก่าครับ และดู Tapescript ตามไปด้วย อันนี้ได้จริงๆ มีบางคนลองทำวิธีนี้แล้วอัพได้ถึง Band 8 ด้วย!

จะเพอร์เฟคมั่กๆ ถ้าเราได้มีโอกาสคุยภาษาอังกฤษ และ/หรือเรียนภาษาอังกฤษครับ ช่วยได้เยอะมากๆ

Reading: แนะนำให้อ่านนิตยสาร Times ครับ เริ่มต้นด้วยของง่ายนี่แหละ ข้อสอบไม่ออกยากขนาดบทความใน The Economist ครับ อ่านบทความนึงสักหน้านึง พยายาม skim แต่ละย่อหน้าให้ได้ว่าเค้าสื่ออะไร (ทักษะการ skim สำคัญมากๆ ในการสอบครับ)

Writing: แนะนำว่าควรไปหาคอร์สฝึกเขียน คือการฟังกับอ่านน่ะฝึกเองได้ แต่การเขียนนี่ถ้าไม่ทำบ่อยๆ หรือไม่เคยรู้วิธีการเขียน essay นี่ควรเรียนครับ ถ้าเวลา/ทุนทรัพย์ไม่สะดวกจริงๆ ลองหาหนังสือสอนการเขียนครับ

ถ้าเป็นไปได้ ลองเขียนบล็อคดูครับ วันละบล็อคถ้าทำได้ เป็นภาษาอังกฤษ จะพูดถึงเรื่องข่าว ชีวิตตัวเอง ก็ทำครับ เป็นการฝึกการคิดเป็นภาษาอังกฤษในหัวในเวลาเขียน และถ้าจะให้ดี ฝึกวางโครงสร้างการเขียนก่อนเขียนก็จะดีครับ

Speaking: ฝึกยากที่สุดแล้วในทุกพาร์ท แนะนำให้ไปหาคอร์สเรียนครับ

แต่ถ้ามีเวลาฝึกมาก ก็ฝึกฟัง ฝึกอ่านเยอะๆครับ ฟังถ้าเราฟังมากเราจะรู้สำเนียงที่ถูกต้องและเลียนแบบมาได้โดยไม่รู้ตัว (แต่ต้องฝึกพูดตามด้วยนะ) อ่านเยอะๆเพื่อให้เรารู้รูปประโยค และคำศัพท์ เพื่อเอามาใช้สื่อสารได้ ถ้ามีโอกาสได้ใช้ภาษาอังกฤษก็ใส่ไม่ยั้งครับไม่ต้องกลัวผิดถูก ประเด็นคือต้องพูดชัด คนฟังไม่งง สื่อความหมายได้ชัดเจน พัฒนาความคิดได้เหมือนพูดไทย (แต่อาจไม่ fluent เท่า) และใช้ไวยากรณ์พื้นฐานได้ เท่านี้ก็เป็นพื้นฐานที่ดีแล้วครับ

ถ้าใครคิดว่า Vocab ยังอ่อนหัด ไปฝึก Vocab ครับ อาจจะไปหาหนังสือ Vocab for IELTS ของ Cambridge (มีสองเล่ม) ไม่ก็โหลดแอพ Magoosh ฝึกคำศัพท์ IELTS ครับ

ใครอ่อนแกรมม่า ไปหาหนังสือแกรมม่าพื้นฐานมาฝึก ของ Cambridge เค้าก็มีครับ เรียกได้ว่าครบวงจรเลย

ทั้งหมดที่พูดมาคือการฝึกฝนในชีวิตประจำวันนะครับ ยังไม่ใช่ข้อสอบ

*******

(2)
ฝึกทำข้อสอบ

อันนี้สำคัญมากครับ ไม่ทำไม่ได้ ช่วงแรกๆจัดไปเลยครับ สัปดาห์ละชุด (หลังจากที่ลองฝึกพื้นฐานด้านบน) แล้ว และก็มารีวิวดู ถ้ามีคนช่วยรีวิว Essay หรือช่วยประเมินการพูดเราได้จะดีมากครับ (เป็นเหตุผลว่าทำไมควรไปเรียน อย่างน้อยก็การเขียนและพูด - การอ่านและฟังฝึกเองได้)

ถ้าจะ intensive หน่อยก็วันละชุดไปเลยครับ หรือถ้างานเยอะก็ฝึกสม่ำเสมอวันละ Part เช่น วันนี้ฝึกข้อสอบฟัง พรุ่งนี้ข้อสอบอ่าน มะรืนข้อสอบเขียน ฯลฯ หรือจะจัดเวลาให้วันนึ้ฝึกอ่าน พรุ่งนี้ฝึกฟัง มะรืนฝึกเขียน แล้วฝึกพูดทุกวัน ก็แล้วแต่สไตล์ และเวลาที่จะอำนวยครับ

สำคัญที่การวางแผน และทำให้ได้ตามแผน (ทำน้อยๆสม่ำเสมอ ดีกว่าปั่นโค้งสุดท้าย)

Listening: เวลาทำข้อสอบให้อ่านดีๆ ว่าเค้าต้องการให้ตอบ No more than กี่ word และถ้าในโจทย์มีหน่วย (เช่น ดอลลาร์) อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องทะลึ่งเขียนหน่วยลงไปในคำตอบเรา (แต่ถ้าไม่มี ต้องเขียนครับ) คนตรวจจะคิดว่าเราไม่รอบคอบ ตอบซ้ำจากโจทย์อยู่แล้ว รวมถึงระวังพวกลงท้ายด้วย s/es/ed/t และระวังเอกพจน์/พหูพจน์ ถ้าช่วงเวลาก็ x to y

แนะนำให้เขียนตัวพิมพ์ใหญ่สำหรับคำตอบ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาชื่อเฉพาะ (ถ้าเราเขียนผิด ก็ผิดทันที) และถ้าเป็นไปได้ ให้ลองฝึกกับกระดาษคำตอบของจริง (โดยเฉพาะเวลาลอกคำตอบลงไป) บางทีมีคนตอบถูกแต่ลอกลงกระดาษผิดลำดับ ก็ผิดรัวๆสิครับ

เวลาทำข้อสอบแนะให้หา Keyword ของโจทย์แต่ละข้อ (ส่วนใหญ่ให้วง Verb ครับ) และพยายามมองล่วงหน้าไปหลายๆข้อ (เวลาผมทำคือ วง Keyword แต่ละคำถาม แล้วประมวลผลไปว่าแต่ละข้อต้องการคำตอบอะไรจากเรา (predict) แบบนี้จะช่วยมากๆครับ) ซึ่งเทปเองยังให้เวลาเรามองไปล่วงหน้าครับ ไม่ต้องกังวล (ระวังพาร์ท 2-3-4 เพราะคำถามจะยากขึ้น ส่วน Part 4 คำถามไม่ยาก แต่เราต้องใช้ทักษะอ่านล่วงหน้ามากกว่า เพราะเค้าจะถามเราพร้อมกัน 10 คำถามครับ ไม่เหมือนพาร์ทก่อนๆที่มาทีละ 5 หรือทีละ 7)

ถ้าข้อไหนไม่ทันข้ามไปเลย แล้วค่อยมามั่วทีหลังครับ ไม่งั้นคะแนนหายรูดไปแน่ๆ

ใครยังฟังไม่ถนัดกลับไปฝึกในชีวิตประจำวันเพิ่มด้วยครับ ช่วยได้เยอะจริงๆ

Reading: อย่าเสียเวลาอ่าน Passage ทั้งหมด เพราะเราจะทำไม่ทัน แต่ให้ skim ดูชื่อบทความ ชื่อรองบทความ ส่วนต้น/ท้ายของย่อหน้าแรกและย่อหน้าสุดท้ายเพื่อให้รู้ว่ามันเกี่ยวกับอะไร แล้วเผ่นไปดูคำถามเลยจ้า แล้วค่อยเอาคำถามมาล่าหาคำตอบใน passage

คำถามถ้าถามว่าแต่ละย่อหน้ามีความหมายอะไร/หรือมีข้อความนี้อยู่หรือไม่ มันคือการบอกใบ้ว่าพี่ต้องอ่านทั้ง passage นะจ๊ะ (หรือเกือบทั้งหมด) ถ้าเก่งแล้วก็ทำก่อนได้ครับ พอรู้ว่าแต่ละย่อหน้าคืออะไรก็ไปตอบข้อสอบส่วนอื่นที่ถามประเด็นเฉพาะได้

อีกแบบคือมันจะมีคำถามที่ถามเฉพาะจุด บางย่อหน้าสองย่อหน้า ให้เราหา Keyword (เช่น ชื่อคน) แล้วไปดูใน passage แล้วก็ตอบคำถาม ทีนี้เราก็ได้มาละ 3-4 คะแนน ก็ค่อยๆเก็บคะแนนไป แล้วค่อยไปทำส่วนที่เราต้องอ่านหมดทุก passage จริงๆ

พยายามอ่านให้เข้าใจจริงๆ อย่าอ่านเรื่อยเปื่อย หลีกเลี่ยงคำตอบชอยส์ที่เป็นคำสรุปตายตัว หรือมีคำเป๊ะจากที่เราอ่าน แต่เราให้ทำความเข้าใจเนื้อหาโดยภาพรวมจริงๆ

ยากที่สุดของ Reading ก็ True/False/Not Given (บางทีถาม Yes/No/Not Given) ให้ระวังว่าเค้าให้เราเขียนอะไรลงไป True หรือ Yes ไม่เหมือนกัน เราเข้าใจถูกแต่เขียน True แทน Yes ก็ผิดครับ

ทริคในการทำส่วนนี้คือ อิงจาก Text เป็นหลัก ถ้าใน passage มีเขียนชัดเจน (ตรงๆ หรือ paraphrase) ก็ตอบ T/Y ถ้าข้อความขัดแย้งกับคำถาม ตอบไปเลยว่า F/N แต่ถ้าคำถามให้มาแต่เราหาไม่เจอ จัดไปเลย NG มันคือให้เราคิดแบบตรรกะโดยอิงข้อมูลที่ให้มา (อันนี้เอาไว้ตัดคะแนนคนโดยเฉพาะเลยครับ ต้องระวัง)

อย่าลืมเขียนคำตอบเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ และต้องเขียนคำตอบทันที ไม่มีเวลาแฮปปี้มีลให้เราลอกคำตอบเหมือนสอบฟังครับ

พยายามทำ passage แรกให้เสร็จภายใน 15 นาที passage ที่สอง 20 นาที passage สุดท้าย 30 นาที ถ้าคล่องแล้วตอนสอบจริงจะมีเวลาเหลือเข้าห้องน้ำสิบนาทีสุดท้ายก่อนสอบเขียนครับ! (หรือเอาไว้ใช้ทวนก็ได้)

Speaking: เอาการพูดขึ้นก่อนเพราะการเขียนซับซ้อนกว่าครับ

หลักๆที่เค้าจะวัดเรามี 4 เรื่อง

- พูดเยอะๆ และตอบเคลียร์: ใครพูดน้อยเพราะกลัวผิดก็ไม่มีทางได้ Band 6 ครับ (ไปดู Band descriptor ได้) ประเด็นคือคนจะได้ 6 ขึ้นไปต้องพูดเยอะๆครับ อย่านิ่ง พูดผิดได้ครับไม่เป็นไร (Band 7 ยังมีเขียนเลยว่ามีผิดบ้าง) แกรมม่าผิดนี่ปกติ อย่าซีเรียส ซีเรียสที่ความหมายที่เราจะสื่อครับ ถ้าเราสื่อความหมายชัดเจนและพูดเยอะๆ ขั้นต่ำคือ 6 แน่นอน (แต่ก็ต้องทำด้านอื่นๆให้ได้ดีด้วย)

นอกจากนี้เราต้องตอบให้เคลียร์ สมมติเราจะตอบว่าผมกำลังเรียนอยู่ ก็ควรจะให้รายละเอียด (พูดง่ายๆคือเม้าท์) ว่าเราเรียนอะไร เรียนมากี่ปี ชอบเรียนวิชาอะไร ทำไมถึงเรียน ฯลฯ พูดง่ายๆคือฝอยเป็นอะครับ โดยเฉพาะการยกตัวอย่าง ฝรั่งเค้าถือว่าสำคัญมากๆ ยิ่งถ้าเราสามารถฝอยต่อยอดประเด็น พัฒนาประเด็นได้นี่ คะแนนกระฉูดครับ (โดยเฉพาะคนที่ฝึก critical thinking มา ได้เปรียบมากๆ เพราะจะพัฒนาประเด็นได้มีน้ำหนักและน่าสนใจ) ถ้าทำตรงนี้ได้ก็ไม่ต่ำกว่า 6 แน่นอน

- สำเนียง: งานนี้ใครสำเนียงดีมีชัยไปกว่าครึ่งครับ เน้นที่การลงท้ายเสียง s/ch/t/d ใครติดสำเนียงไทยก็ไม่เป็นไรครับ ประเด็นอยู่ที่การพูดลงท้ายเสียง รองลงมาก็การ stress เสียงของคำ ถ้าอยากจะได้คะแนนดีๆ เวลาพูดควรมีแบ่งเว้นจังหวะ และพูดเหมือนเจ้าของภาษาครับ เช่น This is a book เวลาออกเสียงก็ออกเป็น Dis sis sa book ติดๆกันไป อันนี้เรียกคะแนนได้กระจายครับ พาร์ทอันนี้จะเป็นเหมือนคะแนนโบนัสในการพูดครับ

- ใช้ไวยากรณ์ "ตามกติกา": กติกาหลักคือ เราควรใช้ประโยคความรวมและความซ้อนเป็น ใน Band descriptor บอกเลยครับใครไม่ใช้ Subordinated clause นี่คะแนนแกรมม่าเหลือ 4 แน่นอน ฉะนั้นฝึกไปเลยครับการใช้ although, even though และ relative clause อย่าง who, which that (ผมใช้ although กับ which เยอะสุด) เช่นเวลาเราจะตอบ x บางทีก็บอกว่า although y ไปก่อน แล้วค่อยตอบ x หรือเวลาเราพูดถึงบางเรื่อง เราอาจใส่ which เพื่อขยายความเพิ่มขึ้น จุดนี้แหละครับที่รับประกันว่าใช้บ่อยๆแล้วได้ไม่ต่ำกว่า 6 แน่นอน

ลืม ถ้าบางทีคำตอบเราเกี่ยวข้องกับการคาดคะเนอนาคต หรือไม่แน่ใจ ใช้ modals (may/might/can/could) หรือใช้ Suppose/Perhaps ก็ช่วยเรียกคะแนนครับ (โดยเฉพาะการตอบในส่วนที่สาม)

- รู้คำศัพท์หลากหลาย: เช่น ยานพาหนะ เรามักจะพูดถึง cars แต่บางทีถ้าเราใช้ vehicles มันจะดูหรูขึ้นเยอะ คะแนนมาครับ บางทีถ้ามีโอกาสก็ใส่ศัพท์ที่เราเคยเรียนมา โดยเฉพาะศัพท์เชิงวิชาการที่เรามักเห็นตามสื่อต่างๆ (เช่น sustainable development/ manipulate etc. - ใช้เฉพาะเมื่อช่วยตอบคำถามนะครับ ไม่งั้นใช้ผิดก็โดนตัดคะแนน) บางคนรู้จักพวกคำอย่าง pull off/pull on อะไรพวกนี้ก็ช่วยได้เยอะครับ หาสถานการณ์ที่จะใช้ให้ได้ละกัน

ใช้คำที่ไม่ค่อยใช้กันบ่อยคะแนนจะเยอะครับ โดยเฉพาะ idioms ลองหา idioms ในใจสักอันสองอันไว้ใช้ก็ได้ เช่น to put it in a nutshell อันนี้ช่วยได้เยอะเวลาเราจะสรุปอะไรสักอย่างตอนท้าย ก็ได้คะแนนเพิ่มไป ซึ่งทั้งหมดนี้เราต้องฝึกครับ เพราะถ้าไม่ฝึกเราก็ไม่รู้ว่าควรใช้คำไหนตอนคำถามไหน

ทำได้ทั้งหมดนี้ได้เกิน 6 ชัวร์ครับ

สำหรับข้อสอบมี 3 ส่วน

- แนะนำตัว: ไม่ต้องซีเรียส ตอนเค้าทักทายเราก็ตอบขำๆไป ตอนเค้าขอเช็ค ID ก็ตอบไปว่าได้ครับ/ค่ะไปธรรมดา เค้ายังไม่วัดอะไรครับตรงนี้ เค้าจะวัดจริงๆคือตอนถามคำถามประเภท บ้านคุณอยู่ที่ไหน (คุณชอบแถวบ้านคุณไหม ฯลฯ) คุณเรียนหรือทำงานอยู่ (คุณเรียนอะไร ชอบมั้ย คุณทำงานอะไร ชอบมั้ย ฯลฯ) หลังจากนั้นอาจจะถามประเด็นทั่วไป (เช่น เที่ยว ครอบครัว ถ่ายรูป ประวัติศาสตร์ ฯลฯ) ในส่วนนี้ก็ตอบไปตามที่ถาม + พัฒนาประเด็นเพื่อฝอยครับ อันนี้เป็นการวอร์มอัพเรา คำถามนึงพยายามตอบให้ได้ราวๆ 30 วิ - 45 วิ อย่าเกินนั้น เพราะ Examiner เค้าอยากถามคำถามเราเยอะๆครับ (ของผมโดนแต่เรื่องทำงาน สลับไปที่บ้านเกิด และสลับมาที่เรื่องงานอีกที - น่าจะโดนไป 3-4 คำถาม)

- พูดคนเดียว: จากนั้น Examiner จะสุ่มเปิดหัวข้อที่เราจะต้องพูดคนเดียว โดยเรามีหน้าที่อ่านโจทย์ เตรียมคำตอบโดยจดลงในกระดาษที่เค้าจะให้ มีเวลาหนึ่งนาทีในการเตรียม จากนั้นก็ให้เวลาสองนาทีพูดคนเดียวครับ

ที่เราต้องทำคือ ตอบให้ครบทุกคำถามที่เค้าถาม และ organize คำตอบ (เช่น Firstly, Secondly, Finally ถามประเด็นคำถามที่เราต้องตอบ - เขียน keyword ที่จะตอบใน mind map ก้างปลาช่วยประหยัดเวลาครับ) พยายามฝอยให้แต่ละประเด็นมันไม่ห้วนจนเกินไป แต่ก็ต้องระวังเวลาเผื่อเราตอบคำถามไม่หมดด้วย และอาจจะเริ่มจาก Today I would like to talk about... และจบด้วย To put it in a nutshell ก็ได้ ก็น่าจะโอเค (พยายามพูดไปจนกว่า Examiner จะบอกให้เราพอด้วยครับ ตอบสั้นก็คะแนนน้อย)

- คิดและตอบและคิด: เสร็จแล้ว Examiner จะถามคำถามเราตามประเด็นที่เราพูดมาในส่วนที่แล้ว เช่น อนาคตคุณคิดว่าเครื่องจักรจะมีประโยชน์มั้ย คุณคิดว่าประเด็นผู้สูงอายุนี่จะมีแนวโน้มไปทางไหน ฯลฯ ตรงนี้นี่แหละครับที่เราต้องฝอยให้เยอะที่สุด และต้องฝอยอย่างมีหัวคิด มีตรรกะด้วย คำตอบเราไม่มีผิดหรือถูก ประเด็นคือเราจะให้เหตุผลที่มีน้ำหนักมาสนับสนุนคำตอบเราได้หรือไม่ และเราสามารถพัฒนาประเด็นไปไกลกว่าคำถามได้มั้ย เช่น ผมโดนถามว่าในอนาคตหุ้นยนต์จะมีบทบาทมากไหมในอนาคต ก็ตอบไปเลยว่าแน่นอนครัช โดยเฉพาะหุ่นยนต์ที่เอามาใช้ทำงานแทนคน (แล้วก็ยกตัวอย่าง) และอีกตัวอย่างที่ยกคือ มันน่าจะเอามาช่วยผู้สูงอายุในยุคที่ผู้สูงอายุกำลังมากขึ้น บลาบลา แต่ก็นั่นแหละครับ มันก็อาจมีข้อเสีย เช่น มันอาจแฮงค์ ฯลฯ ยาวๆไปครับ หลังจากนั้น Examiner แกก็จี้ไปถามเรื่องผู้สูงอายุว่าในอนาคตแนวโน้มมันจะส่งผลอะไรกับสังคม ก็ฝอยไปเรื่อยๆ ยกตัวอย่าง สนับสนุนประเด็นด้วยการยกประเด็นจากเรื่องอื่นๆ และบางทีก็บอกไปว่าแต่มันอาจไม่ได้มีแต่ข้อดีเสมอไป หรือมันอาจไม่ได้แย่เสมอไป ฯลฯ ประเด็นคือการให้เหตุผลเราต้อง valid เหมือนกันครับ

ตรงนี้เราอาจจะตื่นเต้นและพูดผิดๆถูกๆ ไม่เป็นไรครับ (ผมก็มีพูดผิดแกรมม่า มีเอ่อ อ่า) พยายามตั้งสติเข้าไว้ และเนื่องจากเราต้องคิดสดในการตอบ การฝึกจึงสำคัญมากๆครับ

Writing: สิ่งที่เค้าจะวัดเราคล้ายๆกับข้อสอบพูดครับ แต่อย่างแรกที่จะแนะนำคือ ทำข้อสอบข้อสองก่อน! (เพราะได้คะแนนมากกว่า) พยายามทำข้อสองให้เสร็จภายใน 30-40 นาที (เพอร์เฟคถ้าภายใน 30 นาที) ต้องซ้อมเขียนเยอะๆครับ

ประเด็นที่เค้าจะวัดเรามี 4 อย่าง

- ตอบเคลียร์ ข้อเสนอชัดเจนและมีเหตุผลสนับสนุน: อันนี้สำคัญที่สุดครับ ต้องอ่านโจทย์ก่อนเสมอและตอบตามที่โจทย์ถาม ระวังเวลาเราเตรียม pattern การเขียนเข้าไปแต่มันถามคนละอย่าง อันนี้ต้อง adapt ครับ โดยปกติแล้ว 1 ประเด็นต่อ 1 ย่อหน้า เช่นถ้าถามว่า to what extent + or - ก็จัดไปเลยครับ 4 ย่อหน้า อินโทรก็ประกาศไปเลยว่าเราอยู่ฝ่ายไหน ย่อหน้าที่สองก็พูดถึงเหตุผลสนับสนุนของอีกฝ่าย ย่อหน้าที่สามบอกเหตุผลสนับสนุนฝ่ายที่เราอยู่ ส่วนสรุปก็ restate ข้อเสนอหลักและเหตุผลสนับสนุนเชิงเปรียบเทียบ (คิด thesis statement ให้ออกด้วยครับ นี่ีคือหัวใจของการเขียน)

ถ้ามีคำถามมากกว่านี้ก็เล่นไปตามเกม อาจเพิ่มอีกย่อหน้าก่อนสรุปเพื่อตอบคำถามนั้น

อย่าตอบอ้อมแอ้มไปมาว่าเอออันนี้ก็ดีแต่ก็มีข้อเสียอันนี้ รักพี่เสียดายน้อง แบบนี้คะแนนน้อยครับ การเขียนเรียงความภาษาอังกฤษประเด็นอยู่ที่การสร้างข้อเสนอของเรา (take side) และหาเหตุผลสนับสนุน เราอาจจะบอกว่า A มีประโยชน์ก็จริง แต่ B มีประโยชน์มากกว่าเพราะอะไรก็ว่าไปครับ เขียนแบบนี้ดีกว่า (เพอร์เฟคถ้าเราสามารถโจมตีส่วนที่สนับสนุน A ได้ ขณะที่ส่วนนั้นช่วยสนับสนุน B ไปในตัว - แต่ไม่จำเป็นครับ)

- ทุกย่อหน้าสัมพันธ์กันสำหรับการตอบคำถาม: พูดไปแล้วในข้อที่แล้วครับ หลักๆคือเราต้องวางแผนการเขียนก่อนเขียนจริงเสมอๆ ลองลิสต์ว่า A มีอะไร B มีอะไร แล้วเราจะ take side ไหน จากนั้นก็เรียบเรียงครับว่าแต่ละย่อหน้าต้องตอบอะไรบ้าง พยายามตอบคำถามที่ถามมาด้วย

ใช้ Signpost อย่าง Nevertheless, However, In short, etc. ก็ช่วยครับ (บางคนอาจเขียน Firstly, Secondly อันนี้แนะนำไปใส่เป็นตัวอย่างของแต่ละย่อหน้า อย่าไปเขียนนำหน้าย่อหน้าครับ เค้าจะมองว่าเราเขียนแบบหุ่นยนต์ คะแนนจะน้อยลง) In addition, Furthermore พวกนี้ใส่เป็นการยกตัวอย่างประเด็นสนับสนุนเพิ่มเติมครับ ไม่แนะนำให้ใส่ขึ้นต้นย่อหน้า (Moreover เป็นคำแรง ประมาณว่าที่ตามมาทีหลังอะสำคัญกว่าอันแรก ต้องดูดีๆว่ามันจริงหรือเปล่า)

ลืม พยายามเขียนเกินที่กำหนดมานิดนึง (250 ก็เขียนไม่เกิน 270 150 ก็ซัก 160) เขียนมากไปไม่ดีเพราะยิ่งมากยิ่งผิด แต่เขียนน้อยกว่าที่กำหนดโดนตัดคะแนน เวลาซ้อมเขียนให้ซ้อมกับกระดาษคำตอบจริง เราจะได้กะถูกว่าบรรทัดไหนเราถึงคิดว่าคำมันพอแล้ว

- ใช้ไวยากรณ์ตามกติกา: กฏเดิมกับการสอบพูดครับ Although, though, who, which, that มาเต็มครับ แต่งานนี้เราอาจต้องเพิ่ม Tense บ้าง เช่น past simple/ present simple/ present con. เป็นต้น และก็ศึกษาวิธีใช้ comma จากการเขียน although อะไรพวกนั้นครับ รวมถึงการใช้ past participle ในประโยคให้เป็น (พูดง่ายๆคือ เขียนประโยชน์ความรวม/ความซ้อนให้เป็น) คะแนนจะมาครับ

- ใช้คำศัพท์หลากหลาย: พยายามหาคำเหมือนมาใช้แทนกัน และหาคำศัพท์เชิงวิชาการ/ข่าวมาใช้ตอบคำถาม ก็จะได้คะแนนดีครับ

สำหรับข้อสอบมีสองข้อ

- ข้อสอง: คำถามจะให้ข้อความมาประโยคสองประโยค แล้วก็ถาม (บางทีคำถามเดียว (แต่ต้องเขียนถึงสองเรื่อง) บางทีสองคำถาม) ใช้คำแนะนำตามที่แนะไปด้านบนได้เลย

- ข้อหนึ่ง: ความยากของมันคือการที่เราต้องมานั่งดูกราฟ ตาราง แล้วมาเขียน ประเด็นหลักอยู่ที่การหาชุดข้อมูลที่สำคัญกว่าอันอื่นๆ (ให้ความหมาย) ซึ่งหลักๆก็คือ trend (แนวโน้ม เช่น A แนวโน้มขึ้น แต่ B แนวโน้มลง C คงที่) magnitude (สูง ต่ำ - เหมาะสำหรับรูปที่ไม่มี trend มาให้ หรืออาจมี trend มาแต่เราต้องใส่เข้าไปด้วย)

ถ้าเป็นแผนที่ เขียนว่าหลักๆแล้วเรากำลังจะเขียน "อะไรที่เปลี่ยนไปจากเดิม" ถ้าเป็นกระบวนการผลิตอะไรสักอย่างนึง ก็บอกไปว่ากระบวนการใหญ่ๆมีด้วยกัน 3 phase ประกอบด้วยกี่ขั้นตอนก็ว่าไป ความสำคัญคือเราต้องรู้ภาพรวมกว้างๆของข้อมูล

ดังนั้นส่วนอินโทรก็เขียนไปบรรทัดเดียวพอครับ แค่เขียนว่ารูปนี้/กราฟนี้แสดงถึงข้อมูลอะไร ช่วงปีไหน ว่าไป หรือรูปนี้แสดงข้อมูลแผนที่อะไร หรือกระบวนการอะไร

อีกบรรทัด (จะเขียนเป็นอีกย่อหน้าก็ได้) อันนี้แหละคือ key message ในการเขียนภาพรวมของข้อมูล (thesis statement) ถ้าเป็นกราฟก็หา trend หรือ magnitude ถ้าเป็นกระบวนการก็บอกว่ามีขั้นตอนใหญ่ๆสามขั้นตอน มีกี่ขั้นตอนย่อย ถ้าแผนที่ก็บอกภาพรวมความเปลี่ยนแปลง

ส่วนสุดท้ายคือเขียนรายละเอียดในอีกย่อหน้า ก็ควรเขียนไล่ลอจิคที่เราเขียนภาพรวมไป เช่น เราเขียน trend A มาก่อนก็เขียนข้อมูลประกอบของ A ไป ถ้ากระบวนการก็ไล่ขั้นตอนไปเรื่อยๆ ถ้าแผนที่ก็คล้ายๆกระบวนการ

ไม่จำเป็นต้องเขียนสรุปครับ เสียเวลา เอาเวลาไปเขียนอธิบายข้อมูลสำคัญๆของรูปให้เสร็จดีกว่าครับ (ยกเว้นเขียนเสร็จหมดแล้วแต่คำไม่ถึง 150 ค่อยสรุปอีกทีให้ถึง 150)

ถ้ามีหน่วย อย่าลืมหน่วย มีตัวเลขอย่าลืมใส่ตัวเลข ข้อมูลใส่เฉพาะที่เราจะอธิบาย trend ใหญ่ๆ (บางทีเราอาจจะ mention ถึงความสูง/ต่ำของข้อมูลด้วยเวลาอธิบาย trend ใหญ่) ถ้าเป็นกราฟ พยายามเลือกนำเสนอ หาความสัมพันธ์ของข้อมูล อย่าอธิบายทุกอย่าง เป็นไปไม่ได้ครับ ข้อสอบวัดตรงนี้ ข้อหนึ่งนี่เป็นตัวหารคะแนนที่ดีมากๆ (ผมได้ Writing 6.5 โดยเดาว่าข้อสองได้ 7 แต่ข้อหนึ่งได้ 5.5 นี่แหละ!)

ในกราฟการใช้ Verb และ Adjective/Adverb ที่พูดถึงลักษณะการขึ้น/ลง และจำนวน (เยอะมากๆ เร็ว ช้า คงที่ น้อย ฯลฯ) นี่ก็สำคัญครับ ช่วยดึงคะแนนส่วนคำศัพท์ได้เยอะ

ทริคการเขียนที่ดีมากๆเรียนรู้ได้จากเว็บนี้เลยครับ http://www.ielts-english.info/ (ผมเคยเรียนที่นี่ ทริคการสอบเขียนและพูดก็ได้จากที่นี่แหละครับ และเพิ่งมาเก็ทมากขึ้นเมื่อมาอ่านในเวบนี่แหละครับสำหรับการเขียนข้อหนึ่ง) ถ้าใครมีทุนทรัพย์พอแนะนำให้เรียนเขียนกับพูดที่นี่ครับ ดีมากๆ ถ้าเรียนคนเดียวไม่ไหวลองหาเพื่อนมาเรียนด้วยกันครับ ผมว่าคุ้มกว่าคอร์สหมื่นกว่าบาทที่คลุมสี่ทักษะ แต่เรียนกันหลายคนครับ เพราะอาจารย์แกใส่ใจมากๆ ถ้าเราขยันฝึกที่บ้าน อาจารย์แกก็ขยันคอมเมนท์งานเขียน และเทปที่เราฝึกพูดครับ)

*******

(3)
ส่งท้าย

ทริคทั้งหมดจะไม่มีผลถ้าเราไม่เอาไปฝึกฝนให้ชำนาญ

และอย่าลืมว่า IELTS ฝึกทักษะต่างๆตามที่เราได้สะสมมา ยิ่งฝึกยิ่งใช้บ่อยยิ่งได้คะแนนดี ไม่ฝึกไม่ใช้ก็คะแนนไม่ดีไปตามสภาพครับ (คนได้ 5 กับ 7 คือแตกต่างกันสิ้นเชิง ขณะที่ 6 กับ 6.5 ยังอาจจะไม่ห่างมาก)

สมมติเราทำ Listening 7 Reading 7.5 ถ้าอยากได้ 6.5 เฉลี่ย Speaking และ Writing ต้องได้ 6 ครับ (ถ้าอยากได้มากกว่านี้ก็ต้องอัพสกิล ฝึกไปเรื่อยๆ)

สำหรับผม ผมสอบสามครั้งกว่าจะได้คะแนนที่ต้องการ

- ครั้งแรก: Listening 7 Reading 7 Writing 5 Speaking 5.5 เฉลี่ย 6 (ต้องการ 6.5 แต่ละพาร์ท 6) เรียกได้ว่าผิดหวังมาก

- ครั้งที่สอง: Listening 7 Reading 7.5 Writing 5.5 Speaking 6 เฉลี่ย 6.5 ปัญหาอยู่ที่ Writing

- ครั้งที่สาม: Listening 7.5 Reading 7.5 Writing 6 Speaking 7 เฉลี่ย 7! (ต้องการแค่ Writing 6 แต่ได้ Speaking แถม)

ประเด็นคือสองครั้งแรกผมฝึกไม่ดี (สอบเดือนกันยา เดือนธันวา 2556 ตามลำดับ) ไม่ค่อยฝึกซ้อมทำข้อสอบและฝึกฝนตัวเองสักเท่าไหร่ แต่ครั้งที่สาม (สอบมีนา 2557) เกิดจากการที่ลาออกจากงานไปเทคคอร์สพูดและเขียน และไปเรียน AUA คอร์ส Pre-sessional นี่แหละ (ซึ่งก็ฝึกทั้งพูดและเขียน) พอมันได้ใช้ทุกวันคะแนนมันก็ขึ้นครับ

ส่วนล่าสุดหลังจากจบโทที่อังกฤษมาแล้วปีนึง ก็ไปสอบอีกครั้ง (กันยา 2559) เพราะต้องใช้ต่อเอก ก็เลยต้องจัดตารางทำข้อสอบเก่า ใช้เวลาเตรียมตัวเดือนนึง (แต่ไม่ได้ทำทุกวันครับ งานเยอะ) ผลปรากฏว่า

- ครั้งล่าสุด: Listening 7.5 Reading 8 Writing 6.5 Speaking 7.5 เฉลี่ย 7.5! (ตอนสอบเสร็จแอบไม่มั่นใจ Listening Writing Speaking เลย แต่พอรู้คะแนนแล้วก็ดีใจมาก เพราะขี้เกียจสอบแล้ว 55)

หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ

*******

Acknowledgement

ทริคทั้งหมดที่ใช้ตอนสอบนี้รวบรวมมาจากหลายแหล่งในเว็บ (Reading/Listening/Speaking - ขออภัยที่จำเว็บไม่ได้เพราะเยอะและไม่ได้เก็บแหล่งที่มาเอาไว้) และมาจากอาจารย์ที่เรียนสำหรับ Writing และ Speaking (อาจารย์ Barry แห่ง IELTS English และอาจารย์ Peter จาก AUA - ไม่เกี่ยวกับ IELTS โดยตรงแต่ช่วยเรื่องการพูดและเขียนได้มากๆ โดยเฉพาะเรื่อง subordinate/relative clauses และการใช้ comma) ต้องขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงครับ









วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

หยิบ Whiplash มาดูตัวเอง

เพิ่งไปดูหนังมา

หนังเรื่องนี้เค้า (ใครฟะ?) แนะนำต่อๆกันมาว่าดีมาก ควรค่าแก่การไปดูเป็นที่สุด
พอดูเทรลเลอร์หนังก็ยิ่งทำให้อยากดูเข้าไปใหญ่
แต่ประเด็นคือ ยังไม่เข้าโรงฉายที่นี่เลย
จนพาลคิดไปว่ามันคงไม่เข้ามาให้ดูแล้วมั้ง

จนกระทั่งเดือนนี้

การตัดสินใจจองไม่ได้มาเพราะโชคช่วยอำนวยพรอะไร
แม้ว่าค่าหนังอาจจะแพงพอสมควร (แม้ว่าจะสมัครสมาชิกโรงหนังเพื่อรับตั๋วหนังฟรี แต่คิดง่ายๆก็คือราคาที่ต้องจ่ายให้หนังน่ะแหละ) แต่ถือได้ว่าคุ้มค่ามาก
ความรู้สึกเหมือนกับว่าแรงบันดาลใจที่หายไป (และความคิดริเริ่มต่างๆ) มันกลับมาอีกครั้ง!

*******

หนังชื่อว่า Whiplash

เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กหนุ่มมือกลอง กับอาจารย์สุดเฮี้ยบ
ดราม่า โทนมืด บีบคั้นอารมณ์สุดหัวใจ สมจริงและไม่เหนือจริง มีความเป็นมนุษย์เต็มๆ
ฉากจบนี่โคตรเท่ สนุกมากแม้ว่าจะฟังแจ๊ซไม่เป็น
แต่มันให้ความรู้สึกที่สุดยอดมากๆ บีบคั้นอะไรจะขนาดนั้น
คือตบมือให้หนังตั้งแต่ก่อนจะจบห้านาที มันสุดยอดจริงๆ

และแน่นอนว่าแรงบันดาลใจมันคือการตีความหนังเพื่อสร้างชุดไอเดียอธิบายชีวิตคนด้วย

(ต่อไปนี้อาจจะสปอยล์)

สิ่งที่เห็นชัดคือพัฒนาการของตัวละคร เด็กหนุ่มมือกลองที่เริ่มจะดาร์คขึ้นเรื่อยๆ
และความเป็นมนุษย์เริ่มน้อยลง ซึ่งกลายเป็นว่าการพัฒนาฝีมือต้องแลกมาด้วยความเป็นมนุษย์หรือ?
ส่วนนี้ตั้งคำถามได้ชัดเจน และเมื่อมองผ่านตอนช่วงเล่นโกะอย่างเอาจริงเอาจัง
ก็พบว่า มันอารมณ์แบบนี้เลย ติสต์แตก จะฝึกฝนมันท่าเดียว มนุษยสัมพันธ์เรียกได้ว่าน้อยมาก

แม้ว่าฝีมืออาจพัฒนา แต่ที่ต้องตั้งคำถามกลับไปก็คือว่า
มันทำให้เรากลายเป็นพวก self-center บ้างหรือเปล่า
ตัวละครในหนังเรื่องนี้สะท้อนภาพของการมี Ego ที่สูงมากขึ้น ไปพร้อมๆกับความคาดหวังว่าจะเป็นตัวจริงตลอดเวลา โดยลืมไปว่าตัวเองก็ยังไม่ใช่ของจริง (แม้ว่าจะเหนือกว่าคนอื่นแล้ว) จนทำให้กลายเป็นคนก้าวร้าวไปเลย

เมื่อมาเทียบกับตัวเราเองก็พบว่าคล้ายมาก แต่ความก้าวร้าวนี้มาในรูปแบบของความดื้อ ซึ่งผนวกกับความคิดที่ชอบตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆอยู่แล้ว เมื่อมันรวมกัน กลับกลายเป็นจุดอ่อนของตัวเองมาตั้งแต่ม.ปลาย จนถึงช่วงทำงานเลยทีเดียว

อย่างแรกสุดเลยก็คือความเชื่อความถือดี สุดท้ายกลายเป็นว่าเราอาจจะนำเสนออะไรที่น่าสนใจในทางความคิด แต่วิธีการนำเสนอ แสดงออก ไม่ว่าจะโทนเสียง ท่าทาง หรือคำพูด มันกลับกลายเป็นว่าก้าวร้าว แข็งแกร่งเกินไป ไม่ว่าบางครั้งจะเจตนา หรือไม่เจตนาก็ตาม แต่มันกลายเป็น "นิสัย" ไปเสียแล้ว ซึ่งยากที่จะทำให้ผู้ฟังรับฟังเป็นอย่างยิ่ง

อีกข้อที่เลวร้ายยิ่งกว่าคือ มันบิดเบือนกระบวนการเรียนรู้ของเรา คิดไปว่าเราคิดอย่างนี้น่ะถูกแล้ว แต่เอาจริงๆมันมีวิธีคืออื่นๆอยู่เหมือนกัน แต่ที่เราคิดหลายครั้งก็ยังไม่รอบด้านเพียงพอ แม้ดูเหมือนว่าเราจะคิดอย่างรอบด้านแล้วก็ตาม

ดังนั้นการใช้มาตรวัดของตนตัดสินสิ่งต่างๆนั้น ก็กลายเป็นดาบสองคมเช่นกัน แม้ว่าในด้านหนึ่งมันจะเป็นความพยายามในการฝึกฝน ตกผลึกวิธีคิดของเรา แต่ด้วยวิธีการนำเสนอที่ก้าวร้าวเกินไป และการละเลยที่จะตกผลึกให้รอบด้านเพียงพอ มันก็ทำให้กลายเป็นเรื่องที่ไม่เวิร์คไปเหมือนกัน

ความก้าวร้าวที่ฝังอยู่นี้นี่เองที่ทำให้นึกถึงมูซาชิช่วงแสวงหาตนเองเป๊ะ ยอดคนไม่ว่าจะเป็นพระหรือนักดาบระดับตำนานก็บอกมูซาชิว่า "เข้มแข็งเกินไป" ซึ่งอาจเกิดจากทัศนคติที่ผิดพลาดของมูซาชิจากเป้าหมายที่อยากจะเป็นนักดาบอันดับหนึ่งในญี่ปุ่น ซึ่งจริงๆเป้าหมายไม่ใช่สิ่งที่ผิดในตัวเอง แต่อิทธิพลหรือ "ผลข้างเคียง" ของเป้าหมายนั้นต่างหากที่อาจครอบงำเราให้เกิดทัศนคติที่ผิด เช่น การเป็นอันดับหนึ่งนั้นไม่ได้หมายความว่าจะต้องตัดขาดจากความเป็นมนุษย์เสียเมื่อไหร่ นี่คือจุดที่เพิ่งจะมาเข้าใจได้จริงๆก็ไม่นานมานี้ และที่สำคัญคือหนังเรื่องนี้จี้จุดนี้ได้อย่างสุดยอด

แม้ว่าตอนนี้จะปรับปรุงตัวเองให้ลดความก้าวร้าวลงแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนโลกออนไลน์ที่ยึดหลักว่า "นิ่งเสียตำลึงทอง" แต่ก็ยังรู้ตัวดีว่ายังมีอคติส่วนตัวอยู่อันเป็นธรรมดาของมนุษย์ แต่อย่างน้อยก็ยังดีที่มารู้ตัวและเริ่มแก้ไขตนเองตอนนี้ ดีกว่าไปแก้กันตอนแก่เฒ่า

*******

เมื่อดูตัวละครท้าทายตนเองด้วยการซ้อม และการถูกกระตุ้นให้ทำเกินขีดจำกัดของตัวเอง
มาย้อนดูตัวเองก็รู้สึกแย่ เพราะเรายังไม่ได้ครึ่งนึงของความทุ่มเทแบบนั้นเลย
ความจริงจังเอาเป็นเอาตายแบบตอนฝึกโกะหายไปหมด
แต่เทอมนี้ก็ดีใจว่าเป็นเรื่องที่เราอยากเรียนจริงๆทั้งสิ้น ก็น่าจะดีขึ้น
เพียงแต่ความขยันแม้อาจจะมากกว่าเทอมก่อน แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะก้าวข้ามขีดจำกัดได้

หนังเรื่องนี้สร้างแรงบันดาลใจในเรื่องนี้มากๆ
เราพยายามมากพอหรือยัง? คำถามนี้ลืมถามไปนานเลย
ขอบคุณหนังเรื่องนี้ที่ทำให้ได้คิดอีกครั้ง

*******

อาจสรุปได้ว่ามันเป็นเรื่องของการศึกษา
ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ กับนักศึกษา
ที่แม้ความสามารถของนักศึกษาแม้มีแววแต่ก็ยังอ่อนด้อย
อาจารย์เลยขัดเกลาด้วยการกดดันต่างๆนานา เพื่อให้กลายเป็นเพชร
อารมณ์นี้ชัดๆ
ซึ่งทำให้รู้สึกว่า อืม น่าจะเอาไปใช้อธิบายลักษณะกระบวนการศึกษาของการทำวิทยานิพนธ์จริงๆ

โดยเฉพาะการยั่วล้อให้ท้าทายตนเองจากขีดจำกัด

และที่น่าสนใจก็คือตัวละครเหมือนจะยอมแพ้ไปมากกว่าหนึ่งรอบ
แต่ก็กลับมาสู้ต่อ แม้จะล้มเหลวไปไม่รู้กี่ครั้ง
(และแม้จะล้มเหลวจากการโดนแก้เผ็ดอย่างเจ็บแสบ)
แต่ตัวละครแสดงให้เห็นถึงความเป็นนักสู้ ที่กล้าที่จะเผชิญหน้ากับความอาย
แล้วกลับไปสู้เพื่อพิสูจน์ตนเอง
ตรงนี้แม่งโคตรสุดยอด ต้องทำให้ได้แบบนี้

เหมือนกับที่ตัวละครหนึ่งเคยพูดถึงนักดนตรีในตำนานว่า "หลังจากนั้นเขาก็มุ่งมั่นเพื่อที่จะไม่ให้ไปขายขี้หน้าใครเขาอีก"

นอกจากนี้ ดูเหมือนว่าความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์กับอาจารย์เองก็ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานชอบหรือชังกันตามวิสัยธรรมดาของมนุษย์ แต่อยู่บนพื้นฐานของ perfectionism ในผลงานทางดนตรี พัฒนาการทางอารมณ์ตรงนี้เรียกได้ว่าสุดยอดมากๆ แต่ก็น่าสงสัยอยู่ว่าถ้ามองกลับมาในโลกวิชาการ จะมีสักกี่คนที่ทำได้ขนาดนี้ ที่สามารถสะกดกลั้นอคติส่วนตัวและบรรลุอุดมคติบางประการได้ แต่อย่างไรก็ตาม นี่คือหนังที่ทำให้ตื่นได้แม้ง่วงอยู่ อยากลุกขึ้นออกไปทำสิ่งต่างๆ พัฒนาตัวเองให้มากขึ้น ท้าทายตัวเองกว่าเดิม

จะรอดูว่าทำได้อย่างที่คิดมั้ย

วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Collaborative Seminar as a "Group Therapy": Reflection on UK Higher Education

เข้าสู่สัปดาห์ที่ห้าของการเรียน (แต่เรียนไปสี่สัปดาห์) อาจกล่าวได้ว่าเริ่มรู้สึกปรับตัวได้บ้าง บางวิชาที่เรียนแล้วรู้สึกโอเคอยู่แล้วก็มองเห็นภาพในการเชื่อมโยงมากขึ้น (แต่บางอันก็งงมากขึ้น) บางอันที่มีอคติแต่แรก แต่พอลอง "ตั้งใจ" ค้นคว้าจริงๆและลองแสดงความคิดเห็นในคลาสก็ทำให้รู้สึกดีขึ้นมา "นิดนึง"

จากประสบการณ์นี้เองที่ทำให้เกิดความคิดแวบขึ้นมาระหว่างเดินกลับหอว่า หรือจริงๆแล้วการเรียนการสอนของที่นี่ (อังกฤษ) นั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับการสร้างกลุ่มบำบัด (Group Therapy) ของผู้ป่วยในอาการต่างๆ เพราะแม้ว่าแนวคิดนี้จะดูเหมือนคนละเรื่องกับการเรียนในมหาวิทยาลัย แต่เอาจริงๆโดยส่วนตัวกลับคิดว่ามันเหมือนกัน และอาจมีกลไกการทำงานอะไรบางอย่างใกล้เคียงกัน

*******

แล้วกลุ่มบำบัดคืออะไร? แล้วการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยอังกฤษเป็นอย่างไรเล่า?

กลุ่มบำบัดคือ การใช้การพูดคุยในหมู่คณะเพื่อบำบัดอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีมากกว่าสภาวะที่เคยเป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการให้กำลังใจ (ว่ายังมีคนฟังคุณอยู่ตรงนี้) หรือชี้ให้เห็นถึงทางแก้ไขปัญหา (ซึ่งอาจจะคิดเองไม่ออกเพราะปัญหาหลายๆอย่าง) ซึ่งกลุ่มบำบัดนี้ใช้กันทั้งในการบำบัดยาเสพติด โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ทั้งทางกายและทางจิต โดยหลักคือใช้กลไกทางจิตวิทยาเพื่อช่วยให้ผู้รับการบำบัด "รู้สึก" ดีขึ้น

อย่างน้อยๆให้ใช้ชีวิตให้ดีขึ้นกว่าเดิมละกัน

ขณะที่การเรียนการสอนของอังกฤษนั้นวางบนสมมติฐานที่ว่า ผู้เรียนนั้นจะได้รับความรู้ก็ต่อเมื่อ "ขวนขวาย" ค้นคว้าหาความรู้กันมา แล้วเข้ามาพูดคุยถกเถียงด้วยกัน โดยกระบวนการนี้จะยิ่งเข้มข้นขึ้นในคลาสเรียนระดับปริญญาโทขึ้นไป ด้วยสมมติฐานที่ว่าความรู้ของแต่ละคนนั้นจะมีกระบวนการ "ถอนรากถอนโคน" (Deconstruction) ความรู้/ความเชื่อเดิมๆที่เคยมีมา และมีกระบวนการ "สร้างเสริมเติมแต่ง" (Reconstruction) ความรู้ใหม่ที่มาแทนที่ความรู้ชุดเก่า กระบวนการทั้งสองนี้จะทำงานไปเรื่อยๆจนกระทั่งจบหลักสูตรวิชานั้นๆ (หรืออาจจะได้อิทธิพลจากวิธีการคิดแบบนี้กลับไปด้วย)

ตัวอย่างเช่น เราอาจคิดว่าประชาธิปไตยไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง แต่พอเราเข้าคลาสเจอการถกเถียงกลับมาจนทำให้เราโต้แย้งไม่ได้ พอกลับไปค้นคว้าเพื่อมาพิสูจน์ก็ไม่เจออีก และเมื่อเข้าไปอีกครั้งก็มีคนเสนอความเห็นอย่างน่าฟังว่า อืม แม้ว่าระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนจะมีช่องโหว่เยอะ แต่การเลือกตั้งก็ถือเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำสุดในสังคมปัจจุบัน เพราะไม่อย่างนั้นคุณจะหาวิธี "เกณฑ์" คนมาทำงานสาธารณะในฐานะตัวแทนของคุณได้ยังไงละ? (หรือคุณอยากให้ตัวแทนของคุณ ถูกเลือกโดยใครก็ไม่รู้ ซึ่งก็ไม่รู้อีกว่าใครก็ไม่รู้คนนั้นใครเลือกมาอีก ฯลฯ)

ทีนี้เมื่อกลับมาค้นคว้าอีกก็พบว่า อืม ที่ไอหมอนี่พูดมันเข้าท่าเว้ย อ่านไปอ่านมาเจอคนเขียนโจมตีจุดบกพร่องของประชาธิปไตยแบบตัวแทนเยอะแฮะ แต่ว่าแต่ไอแบบตัวแทนมันคืออะไรหว่า? ต่างจากแบบอื่นตรงไหน? แล้วอะไรที่มาช่วยเสริมให้แบบตัวแทนมันทำงานดีขึ้น? ทีนี้แหละคุณเอ้ย เราก็จะเริ่มอยากค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเอง เพื่อตอบคำถามคาใจที่ตัวเอง (และอาจได้รับอิทธิพลจากคำถามหรือความคิดของคนอื่นๆ) และเมื่อตอบไปเรื่อยๆในคลาส ก็อาจถูกท้าทายมาได้เรื่อยๆ เราก็มีหน้าที่ค้นคว้าต่อไป จนกระทั่งถึงจุดที่คุณสามารถปกป้องจุดยืนของคุณได้โดยดุษฎี นี่แหละครับกระบวนการเรียนรู้ในการศึกษาของที่นี่ละ (ซึ่งวัดผลด้วยการเขียนความเรียงขนาดกลางในท้ายวิชา)

แต่ความเป็นจริงมันไม่ได้ง่ายแบบนั้น มีปัจจัยต่างๆมากมายที่ทำให้คุณไม่รู้สึกแบบนี้ เช่น เป้าหมายของคุณคือมาเที่ยวและได้ปริญญากลับบ้านแถมไปสมัครงานดีๆต่อ หรือบางทีคุณโชคร้ายต้องมาเรียนวิชาที่คุณไม่ชอบเอาเสียเลย บางทีเพื่อนร่วมชั้นของคุณ (และคุณเอง) ก็ขี้เกียจอ่านหนังสือมาถกกัน หรืออาจจะเลยเถิดถึงขนาดที่อาจารย์ของคุณอาจส่งลิสต์ชื่อหนังสือต่างๆที่มันไม่ได้ปูพื้นฐานความรู้ให้คุณเพราะคาดเดาว่าคุณน่าจะมีพื้นฐานอยู่แล้ว (แต่เฮ้ยผมมาจากประเทศโลกที่สามนะครับ!) ฯลฯ ทั้งหมดนี้สรุปรวมได้ว่ามันอาจทำให้คุณ "เซ็ง" จากการเรียนแบบสัมมนาก็ได้ เพราะส่วนใหญ่แล้ว (ผมเองด้วย) ชินกับการเรียนด้วยการรออ้าปากรับความรู้จากอาจารย์ ขอแค่อาจารย์บอกมา เมื่อเข้าใจลึกขึ้นผมจะถกเถียงเรื่องอื่นๆได้ง่ายขึ้น ต่อยอดความคิดได้ดีขึ้น หรือไม่ผมจะไปตามอ่านงานชิ้นนั้นที่อาจารย์บอกว่าดี ฯลฯ

แล้วมันเกี่ยวกันยังไงกับกลุ่มบำบัดฟระ?

*******

ความเกี่ยวข้องกันเกิดจากประสบการณ์คาบเรียนที่ผมไม่ได้มีโอกาสร่วมถกเถียงกับคนอื่นๆเลย สืบเนื่องจากว่าผมฟังภาษาอังกฤษจากฝรั่งไม่ออก และความไม่กล้าขัดจังหวะถามกลับไปว่าตกลงคุณพูดว่าอะไรนะ? เลยทำให้เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง เลยทำให้ไม่กล้าพูด (ผิดกับสองวิชาอื่นที่ฝรั่งน้อยมาก เลยกล้าพูดกล้าคุย) และด้วยอคติส่วนตัวกับลักษณะการสอน (และลิสต์หนังสือที่ไม่ได้ช่วยให้เข้าใจความเชื่อมโยงของเรื่องที่จะเรียนในแต่ละสัปดาห์ - คือไม่มีงานพื้นฐานเลย มีแต่งานระดับเทพที่มีความพยายามสรุปงานพื้นฐานของคนอื่นๆในแวดวงมา แต่มันคร่าวมาก ไม่เก็ทอ่า) จนเกิดความขี้เกียจส่วนตัวในการอ่านงาน ไปจนถึงความพยายามในการจะร่วมวงสนทนาแต่กลับมีอีกคนเสนอความคิดเห็นแบบที่เรากำลังจะเสนอไปในบางคลาส ทั้งหมดนี้ทำให้แอบรู้สึกเฟลกับการเรียนวิชานี้จริงๆ (และผมเชื่อว่าหลายคนที่มาเรียนที่อังกฤษแล้วไม่มีโอกาสแทรกเข้าวงสนทนานี่มันคงหดหู่ไม่ใช่เล่น)

แต่พอมีโอกาสได้ทำงานนำเสนอในหัวข้อเรียนนั้นๆกลับพบว่า สามารถเข้าร่วมวงสนทนาได้อย่างน่าอัศจรรย์ ยิ่งไปกว่านั้น การเข้าร่วมวงสนทนานั้นก็เป็นการสนทนาที่สุโค่ยมากๆ เพราะในฐานะที่เราอ่านงานมาอย่างเอาเป็นเอาตาย (และกว่าครึ่งที่อ่านมาจากงานพื้นฐานที่ไม่ได้อยู่ในลิสต์รายชื่องานวิชาการที่อาจารย์ส่งมา) เลยกลายเป็นว่าเรามีโอกาสพัฒนาแนวคิดต่างๆ และร่วมวงถกเถียงอย่างสนุกสนาน และเป็นบทเรียนที่ทำให้เรารู้ว่า บางทีบางคนอาจรู้เรื่องบางอย่างดีมากเลยสามารถถกเถียงในสัปดาห์นั้นอย่างดี แต่พออีกสัปดาห์กลับมีคนอื่นทำได้ดีกว่า ตรงนี้เลยเป็นบทเรียนสำคัญเลยว่า ฝรั่งไม่ได้เก่งไปทุกอย่าง คนเหมือนกัน มีเก่งมีไม่เก่งเท่าๆกันแหละ เลยรู้สึกโล่งขึ้น

เห็นอะไรในนี้มั้ย?

ตอนแรกที่ไม่มีโอกาสพูดในวงสนทนาก็รู้สึกอึดอัด แต่พอมีโอกาสร่วมวงแล้วก็รู้สึกผ่อนคลาย (และฟิน - ถ้าเราสามารถสร้างข้อถกเถียงที่คนอื่นๆยังไม่สามารถหักล้างเราได้ จนกระทั่งต้องให้อาจารย์ออกโรง - ซึ่งยิ่งฟินไปใหญ่เพราะนอกจากบอสใหญ่มาเองแล้ว เรายังได้ประเด็นกลับไปคิดค้นต่อมาฟรีๆอีกด้วย) กลไกการทำงานมันเหมือนกับกลุ่มบำบัดเลยอะ ประมาณว่าเมื่อเราได้โอกาสพูดในหมู่คนที่ฟังเรา และมีคนตอบโต้เรา มันเป็นสภาวะอะไรสักอย่างที่สร้างความรู้สึกว่า เห้ย ฉันได้ระบายความในใจของฉันไปแล้วนะ จะถูกจะผิดฉันได้ระบายไปแล้ว และเมื่อมีคนตอบโต้กลับมามันทำให้ฉันรู้สึกว่า เห้ย สิ่งที่ฉันพูดไปมีคนฟัง มีคนสนใจ ไม่ว่าจะเป็นในเชิงการถกเถียงหรือการสร้างเสริมกำลังใจ และพอมีกำลังใจก็จะมีแรงผลักดันให้เชื่อว่าสิ่งที่ทำอยู่นี้ถูกแล้ว ก็ทำต่อไปเรื่อยๆภายใต้แรงผลักดันตัวนี้ ผมว่ามันมีอะไรบางอย่างคล้ายๆกันซ้อนทับเหลื่อมอยู่ระหว่างสองสิ่งนี้นะ

*******

ในกลุ่มบำบัด ขอแค่คุณ "เปิดใจ" พูดกับคนอื่นๆออกไป ฉันใดก็ฉันนั้น การเรียนสัมมนาก็ต้องทำในลักษณะเดียวกัน แต่ก่อนจะทำแบบนั้นได้ การค้นคว้าด้วยตนเองจึงสำคัญ และไม่ว่าอาจารย์จะแนบงานพื้นฐานให้คุณหรือไม่ ประเด็นสำคัญกว่าคือคุณจะสร้างลิสต์ที่ต้องอ่านของคุณเองยังไงเพื่อจะได้เข้าใจวิชาเรียนให้มากขึ้น และจะค้นคว้ายังไงให้สามารถเชื่อมโยงสิ่งที่อาจารย์คุณให้อ่านกับสิ่งที่คุณค้นคว้ามาอย่างไร ตรงนี้แหละที่จะทำให้คุณพร้อมสำหรับการ "เปิดใจ" ในโอกาสต่อไป

แต่อย่างไรก็ตาม หากมองกลับมาในมุมของการเป็นอาจารย์แล้วก็ควรต้องทบทวนด้วยว่า นักเรียนเองมีความสามารถสร้างลิสต์การอ่านของตัวเองได้โดยที่ไม่มีพื้นฐานในเรื่องที่เรียนอยู่หรือไม่? ตรงนี้อาจเป็นโจทย์ที่ตัวอาจารย์เองสามารถกำหนดได้ ตลอดจนประสบการณ์การถูกบังคับให้ทำงานนำเสนอนี้ก็อาจบอกได้ว่าวิธีการบังคับให้ทำชิ้นงานก็ยังคงเป็นอะไรที่มีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งก็น่าสนใจเหมือนกันว่าจะทำอย่างไร

ว่าแต่ไปพักผ่อนก่อนเตรียมพร้อมสำหรับการ "เปิดใจ" ครั้งต่อไปก่อนละกัน

วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ทำไมเราจึงควรรู้ธรรมะสุดท้ายของพระพุทธเจ้า?

หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิโว - ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนทั้งทั้งหลายว่า
วะยะธัมมา สังขารา - สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
อัปมาเทนะ สัมปาเทถะ - ท่านทั้งหลาย จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด
อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมาวาจา - นี้เป็นพระวาจามีในครั้งสุดท้าย ของพระตถาคตเจ้า
         ปัจฉิมพุทโธวาท (โอวาทสุดท้ายของพระพุทธเจ้า) (สวดมนต์แปลแบบสวนโมกข์, 33)
ถ้าจะถามว่าไปบวชเรียนมาแล้ว ได้ธรรมะอะไรติดมามากที่สุด ก็สามารถกล่าวได้ว่าบทปัจฉิมพุทโธวาทนี้ เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่สุด และจำบทสวดและแปลได้อย่างแม่นยำมากทีเดียว

แต่ทำไมเราถึงควรรู้ละ? แล้วมันสำคัญไฉน? ทำไมไม่พูดเรื่องหลักธรรมสำคัญอื่นๆ อย่างเช่นอริยสัจ 4 มรรคมีองค์ 8 หรือโอวาทปาฎิโมกข์กันนะ?

คำตอบง่ายๆคือ ผมยังไม่มีปัญญาแก่กล้าจะไปอธิบายเรื่องที่ผมยังไม่เข้าใจได้ถ่องแท้แบบนั้นครับ แหะๆ อุปมาเหมือนกับว่าเรียนมายังไม่ครบคอร์ส เรียนมาแค่ทฤษฎี แต่ภาคปฏิบัติยังไม่มี

และที่ผมคิดว่าสำคัญที่สุดคือ ในความเห็นของผมแล้ว (อาจจะผิดก็ได้นะครับ) สิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสทิ้งไว้ก่อนดับขันธ์ปรินิพพานไป น่าจะเป็นจุดตั้งต้นในการทำความเข้าใจถึงความสำคัญของการศึกษาและปฏิบัติธรรม เพราะถ้าเราเข้าใจจุดนี้แล้ว ผมเชื่อว่าน่าจะช่วยสร้างศรัทธาต่อการปฏิบัติในกาลต่อไป ไม่ว่าจะปฏิบัติเพื่อมุ่งยังความหลุดพ้น หรือกระทั่งการเปลี่ยนแปลงนิสัยส่วนตัวของเราได้ไม่มากก็น้อยทีเดียวครับ

พระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่าอะไร?

ในพระพุทธวจนสุดท้ายนี้ สิ่งที่พระองค์ท่านตรัสสอนนั้นฟังดูเรียบง่ายมาก แต่จริงๆนั่นคือแก่นหลักธรรมที่พระองค์สรุปเอาไว้ในประโยคเดียว ซึ่งอาจแปลแบบลวกๆได้ว่า "สังขารทั้งปวงนี้ไม่เที่ยง ดังนั้น ท่านจงไม่ประมาทเถิด"

การแปลแบบข้างบนนี้แบบเรียนพุทธในโรงเรียนมัธยมทั้งหลายเขาเรียนกันอย่างนี้ และท่องเพื่อเอาไปตอบข้อสอบว่า ธรรมะสุดท้ายที่พระองค์สอนนั้น คือ "อัปมาทธรรม" ซึ่งว่าด้วยความไม่ประมาท

ว่าแต่ไม่ประมาทอะไรครับ?

ตรงนี้เป็นช่องโหว่ที่ข้อสอบ (และหนังสือเรียน) ไม่ได้ตอบคำถามว่า อืม ไม่ประมาทอย่างไร? เหมือนกับอย่าประมาทในการขับรถหรือเปล่า? ทำให้ผู้เรียนอย่างเราๆท่านๆ ก็ท่องจำไปตอบข้อสอบโดยไม่รู้ว่าตกลงไม่ประมาทอะไรกันนะ และพาลหลงลืมธรรมะข้อนี้ไปเสีย

ต่อคำถามในข้อนี้นั้น พระอาจารย์ท่านหนึ่งได้สอนว่า การ "ยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม" จริงๆความหมายก็คือ "จงทำให้ความไม่ประมาทเกิดขึ้น" (ซึ่งหมายความว่า ความไม่ประมาทตอนแรกเนี่ย เรายังไม่มีหรอก เราใช้ชีวิตกันอย่างประมาททั้งนั้น จึงต้องทำให้มันเกิดขึ้น)

สรุปสั้นๆเลยก็คือ "จงมีสติทุกเมื่อ" นั่นเอง!

*******

ถามต่อไปอีกว่า แล้วทำไมถึงต้องมีสติทุกเมื่อเล่า?

คำตอบก็คือ เพราะเราควรที่จะทำอะไรซักอย่างเพื่อหลุดพ้นไปจากวัฏสงสารอันน่าเบื่อหน่ายนี้ การมุ่งเพื่อความหลุดพ้นคือแก่นพระพุทธศาสนา ไม่ใช่การทำบุญทำทานเพื่อหวังจะไปเป็นเทวดาในชาติหน้า (พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า มนุษย์เราเกิดมาเนี่ยต่างคนต่างก็ได้เป็นพ่อแม่ ลูก เพื่อน คู่ชีวิต ของคนอื่นๆมานับไม่ถ้วน เวียนไปเวียนมาไม่สิ้นสุด) ต่อให้ได้ไปเสวยสุขในสุคติภูมิ (โลกมนุษย์ สวรรค์ พรหมโลก) ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะไปตกอยู่ในอบายภูมิได้ (นรก เปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน) วนเวียนไปไม่สิ้นสุด

ยัง ยังไม่พอ ถ้าเวียนไปเวียนมาแล้วจับพลัดจับผลูมีชาตินึงเกิดเป็นมนุษย์ เผลอไปฆ่าเจ้ากรรมนายเวรตัวเองที่มาเกิดเป็นพ่อแม่ตน ก็ถือว่าประมาทจนก่ออนันตริยกรรมเกิดขึ้น (กรรมหนักที่สุดในกระบวนกรรมทั้งหมด) ลองคิดดูเอาว่าจะต้องตามไปเสวยทุกขเวทนากันขนาดไหน

ทั้งหมดนี้เกิดจากการที่เราประมาทในชีวิต ประมาทว่ามันคงไม่มีอะไรแบบนี้หรอก หรือประมาทว่ายังเหลือเวลาอีกเยอะ ไว้แก่แล้วค่อยมาคิดเรื่องพวกนี้

จริงๆสุดท้ายแล้ว พระพุทธเจ้าท่านหวังให้สัตว์โลกได้มีโอกาส "เจริญสติ" เพื่อเป็นเหตุให้ใกล้กับปัญญาในการพิจารณาความไม่เที่ยง ความเปลี่ยนแปลง และความไม่มีตัวตนของสรรพสิ่ง เพื่อความหลุดพ้น ซึ่งการเจริญสตินี้ถือได้ว่าเป็นการไม่ประมาทในชีวิต เหมือนเป็นหลักประกันได้ว่าถ้าท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ด้วยการมีศรัทธา มีศีล และปฏิบัติจริงๆจังๆแล้ว ก็จะไม่ต้องลงไป "วัดดวง" ในอบายภูมิ และวนเวียนอยู่แต่ในสุคติภูมิจนกว่าจะได้หลุดพ้นกันจริงๆ (เช่น พระโสดาบัน)

ดังนั้น ที่ต้องมีสติก็เพื่อมิให้เผลอไผลไหลตามวงเวียนชีวิตเหล่านี้ และจะดียิ่งถ้าพยายามฝึกให้ได้ตลอดเวลา

Countdown ชีวิต

เมื่อกี้เพิ่งอธิบายแค่ท่อน "ไม่ประมาท" เท่านั้นครับ ยังไม่ได้อธิบายท่อน "สังขารมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา" เลย

พูดง่ายๆก็คือ สังขาร (ร่ายกาย จิตใจ) ของเราทุกวันนี้ มันมีเกิดดับตลอดเวลา และจะตายวันตายพรุ่งก็ยังไม่รู้

ขอให้ลองนึกดูเอาไว้ในทุกวันเกิดของเรา นอกจากจะเป็นวันรำลึกการเฉียดตายของคุณแม่ของเราแล้ว ก็ยังเป็นวันที่ชวนให้เรานึกถึง "เวลาที่ยังเหลือ" ของพวกเราอีกด้วย

เปรียบเหมือนนาฬิกาจับเวลา เราเหลือเวลากันน้อยลงทุกทีๆไปแล้ว เหมือนกับที่ท่านสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชท่านได้เขียนเอาไว้ในหนังสือเล่มบางๆน่ารัก ชื่อ "ชีวิตนี้น้อยนัก" ว่า ชีวิตมนุษย์นี้สั้นนัก พวกเราได้ทำอะไรดีๆเอาไว้กันบ้างหรือยังนะ?

เมื่อเราเข้าใจความหมายของท่อน "สังขารไม่เที่ยง" และ "จงมีสติอยู่เสมอ" แล้ว ก็จะเข้าใจได้ในทันทีว่า ที่พระพุทธองค์พูดมานั้น ชอบแล้วด้วยเหตุผล ชอบแล้วด้วยการโน้มน้าวบุคคลให้ใฝ่หาทางหลุดพ้น!

"เพราะชีวิตทุกวันนี้เหลืออยู่น้อยนัก ก็จงรีบเจริญสติกันเถิด เพราะหลังจากนี้ไม่มีอะไรเป็นหลักประกันในชีวิตได้อีกแล้วว่าจะไปเจออะไรหลังจากสิ้นลมกันไปแล้ว!"

*******

ถ้าดูในพระพุทธวจนะ (คำสอนจากพระโอษฐ์) ของพระพุทธเจ้าก็จะพบว่า พระองค์พูดถึงความน่ากลัวของความประมาทนี้ ผ่านการพูดถึงความยากลำบากในการเกิดมาเป็นมนุษย์!

- ท่านตรัสว่า อันปกติมนุษย์ที่บังเกิดมาแล้วนั้น มีอยู่เพียงฝุ่นธุลีดินจากทั่วทั้งพื้นปฐพีบนโลก ที่จะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง! (สรุปจาก อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคต้น, พุทธทาสภิกขุและกองตำราคณะธรรมทาน, 7)

- ท่านตรัสว่า การบังเกิดขึ้นเป็นมนุษย์ของสัตว์จำพวกวินิบาต (สัตว์ที่ห้ำหั่นเคี้ยวกินกันเอง) นั้นยากนัก ยากยิ่งกว่าโอกาสที่เต่าตาบอดกลางมหาสมุทรที่ร้อยปีจะโผล่หัวมาพ้นน้ำสักที แล้วจะเอาหัวนั้นเข้าไปในกระบอกไม้ไผ่ที่ลอยเคว้งอยู่กลางมหาสมุทรนั้น! (สรุปจาก อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคต้น, พุทธทาสภิกขุและกองตำราคณะธรรมทาน, 101 - 102)

แล้วน่ากลัวอย่างไรเล่า - บางคนอาจจะคิดอย่างนั้น (เพราะบางคนอาจไปเสวยบุญเป็นเทวดา พรหม นิ)

ที่มันน่ากลัวก็เพราะอย่างที่บอกไปแล้ว ไปเป็นเทวดาหรือพรหม พอหมดบุญก็จะต้องไปภพภูมิอื่น อย่างดีก็เป็นมนุษย์ อย่างเลวก็อบายภูมิ ก็วนเวียนไปแบบงงๆต่อไป น่าเสียดายโอกาสที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์

และที่สำคัญก็คือ การเกิดเป็นมนุษย์นั้นสามารถสะสมบุญ รวมถึงเจริญภาวนาได้ดีกว่าเทวดา (เทวดาทำบุญไม่ได้ เจริญภาวนาไม่ได้เพราะรู้แต่ความละเอียดประณีต ต้องคอยอนุโมทนาจากมนุษย์เวลาทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา) ดังนั้นถ้าใครเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วไม่ทำสิ่งเหล่านี้ นอกจากจะถือว่า "เสียชาติเกิด" แล้ว ยังอาจนำไปสู่อบายภูมิอื่นๆอีกต่อไปไม่สิ้นสุดก็ได้

ดังนั้น การที่มนุษย์เรามีโอกาสน้อยที่จะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง จึงน่ากลัวอย่างประมาณไม่ได้เลย!

เรื่องพวกนี้มีจริงหรอ?

บางคนอาจบอกว่า เห่ยเรื่องแบบนี้จะจริงหรอ ถ้าภพภูมิอะไรนี่ไม่มี ชีวิตนี้มีชีวิตเดียว การ "เจริญสติ" หรือแม้แต่ทำความดีนี่มันจะคุ้มกันหรอ???

เรื่องนี้ขอหยิบยืมความคิดของนักคณิตศาสตร์ชาวตะวันตก (Pascal) มาตอบครับ (http://en.wikipedia.org/wiki/Pascal's_Wager)


แนวคิดนี้ Pascal ได้ใช้ตารางแมทริกซ์แบบ 2 คูณ 2 เพื่อมาหาดูว่า อืม ทางเลือกที่ดูสมเหตุสมผล (rational) ในการใช้ชีวิตบนโลกนี้นั้นคืออะไร โดยที่มีความไม่แน่นอนว่าจะมีพระเจ้าอยู่หรือไม่ (ตรงนี้เราแทนค่าพระเจ้าตามแนวคริสตศาสนาด้วยภพภูมิครับ) และผลปรากฏก็คือ

- หากภพภูมิมีจริง และเราเชื่อ (ปฏิบัติดี เจริญสติ) ผลที่ได้จะประมาณค่ามิได้ (หลุดพ้น/ไม่ไปสู่อบายภูมิ)
- หากภพภูมิไม่มีจริง และเราเชื่อ ผลที่ได้คือเราอาจเสียเปรียบในชีวิต (เสียโอกาสได้ประโยชน์จากการเบียดเบียนคนอื่น เช่น โกงเงิน) แต่ก็ไม่แน่ว่าจะเสียเปรียบ เพราะอาจจะถือว่า "ทำดีเสมอตัว"
- หากภพภูมิมีจริง แต่เราไม่เชื่อ (ไม่ปฏิบัติดี หรือไม่เจริญสติ) ผลที่ได้คือเสียหายอย่างประมาณค่าไม่ได้
- หากภพภูมิไม่มีจริง แต่เราไม่เชื่อ ผลคือเราได้กำไรในชีวิต (จากการเบียดเบียนคนอื่น - แต่ก็ไม่แน่เสมอไป อาจจะโดนคนอื่นแก้แค้น เดือดร้อนกว่าเก่าก็ได้)

ประเด็นคือ Pascal ให้ค่าอินฟินิตี้ กับ เลข 1 แทนจำนวนในการวิเคราะห์ครั้งนี้ ดังนั้นความเสี่ยงที่จะได้รับโทษจากการไม่เชื่อมีมากกว่าการเชื่อ (และปฏิบัติ - วัดจากค่าอินฟินิตี้) ซึ่งจะเห็นได้ว่าการที่เราเชื่อนั้น สมเหตุสมผลกว่าการไม่เชื่อ ไม่ว่าจะมีภพภูมิ (พระเจ้า - ในบริบทที่ Pascal ใช้วิเคราะห์) จริงหรือไม่ครับ!

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าจะมีข้อถกเถียงจากบางคนต่อการวิเคราะห์นี้ของ Pascal ก็ตาม แต่โดยส่วนตัวคิดว่าตัวอย่างนี้ก็น่าจะพอเป็นคำอธิบายที่พอใช้ได้สำหรับการตอบคนที่ไม่เชื่อเรื่องนี้ครับ

และอันที่จริง ถ้าคนที่ไม่เชื่ออยากจะพิสูจน์ว่าเรื่องแบบนี้มีจริงหรือไม่ เจริญสติแล้วหลุดพ้นหรือเปล่า ลงท้ายแล้วการพิสูจน์ก็คือการได้ลองมาเจริญสตินั่นแหละครับ ถือเป็นการทำการทดลองจริงๆ มากกว่าการนั่งคิดตามหลักตรรกะเหตุผล ซึ่งพระพุทธเจ้าเองก็ตรัสเอาไว้แล้วว่า บุคคลล้วนไม่อาจเข้าถึงธรรมได้หากใช้ตรรกะเหตุผลในการขบคิด

ตัวอย่างนี้จึงมีไว้เพื่อทำให้ผู้สงสัยได้คลายสงสัย มิใช่ความจริงแท้เชิงพุทธะใดๆครับ

บทส่งท้าย

เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อจะชี้ให้เห็นว่า พระพุทธโอวาทสุดท้ายนี้นั้นเสมือนเป็นการ "กระตุ้นเตือน" ให้เราๆท่านๆอย่าได้หลงใหลในทางสุดโต่งทั้งสอง (ความยึดติดในกามสุข และความยึดติดในการปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นแบบสุดโต่ง) และให้ "ยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม" (เจริญสติ) อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอนในชีวิตร่างกายจิตใจในการเป็นมนุษย์ของเรานี้

ส่วนวิธีการปฏิบัติ อันนี้ต้องเริ่มจากการศึกษา ขวนขวาย ของเราทุกคนเองครับ (ก็ไปศึกษาได้จากส่วนอื่นๆที่พระองค์เคยสอน หรือไปเรียนจากครูผู้รู้ต่างๆ)

แต่จะเห็นได้ว่า โอวาทสุดท้ายของพระองค์ ครอบคลุมสาระสำคัญของการเป็นมนุษย์ จึงมีประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษา และทำความเข้าใจในฐานะ "จุดตั้งต้น" สำหรับการปฏิบัติธรรม หรือหันกลับมาพิจารณาตนเอง และเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดี ที่เป็นสัมมา

พวกเราทั้งหลาย จึงควรยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด!

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ข้อมูลการบวชวัดชลประทานฯแบบละเอียด (Part 3: เกร็ดเล็กน้อยจากการบวช (จบ) )

หลักจากตอนที่แล้ว (http://botsleepyboyz.blogspot.com/2014/06/part-2.html) ได้พูดถึงกิจวัตรประจำวันของพระนวกะ (พระบวชใหม่) ที่วัดชลประทานฯไปพอสมควรแล้ว คราวนี้ก็จะขอพูดถึงเกร็ดเล็กๆน้อยๆจากการบวชครับ เผื่อว่าจะเป็นความรู้ประดับไว้ หรือเผื่อว่าใครสนใจไปบวชก็จะได้ทำความเข้าใจแต่เนิ่นๆก็น่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยทีเดียว

(1) ไตรจีวร

จริงๆแล้วพระสงฆ์จะมีผ้าสามผืนไว้ห่มคลุมกาย อันได้แก่ 1)สบง (ผ้านุ่ง) 2)จีวร (ผ้าห่มคลุมร่าง) 3)สังฆาฎิ (ผ้าห่มคลุมเวลาอากาศหนาว) ซึ่งผ้าสังฆาฎิจะมีขนาดเหมือนจีวร และในเมืองไทยจะเอามาพาดไว้ที่ไหล่ซ้ายแล้วคาดด้วยผ้าอีกชั้น ใส่ไว้สำหรับเวลาลงอุโบสถ หรือโอกาสสำคัญๆครับ

สำหรับผ้าที่เป็นเหมือนเสื้อพระที่เรียกว่า อังสะ (หรือเสื้อตัวในของพระ) นั้นไม่ได้รวมอยู่ในไตรจีวรครับ แต่ก็จะใส่กันเอาไว้ครับ เวลาพระกวาดลานวัดก็จะใส่อังสะแทนห่มจีวรด้วย 

เวลาซักจีวรนี่พูดตรงๆเลยครับว่า เมื่อยมือมากกว่าจะบิดให้หมาด แต่ตอนตากนี่ลมพัดแป๊บเดียวก็แห้งแล้ว และตามหลักของศีล 227 ข้อแล้วห้ามตากข้ามคืนไว้กลางแจ้งครับ (เหตุผลคือกลัวเปียกแล้วไม่มีใส่) และถ้าจะตากข้ามคืนให้ตากในที่ร่ม และต้องรีบเก็บก่อนตะวันจะขึ้น มิฉะนั้นจะต้องอาบัติฐานไม่รักษาจีวรให้ดี ซึ่งกฏนี้เดาว่าเพราะในสมัยพุทธกาลผ้าหายาก พระเลยต้องรักษาให้ดีๆครับเพื่อประหยัดทรัพยากรที่มีอยู่ ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมต้องการจีวรใหม่ที่ประณีตกว่ามาใส่

ส่วนการนุ่งจีวรนี่เรียกได้ว่ากว่าจะนุ่งเป็นก็ท้อแท้ไปหลายตลบ และกว่าจะคล่องก็ตอนจะสึกเรียบร้อยแล้ว ส่วนเวลาดูพระอาจารย์ท่านนุ่งนี่เรียกได้ว่าจบมาจากสำนักเดียวกันเลยครับ เวลาห่มจังหวะสุดท้ายนี่เหมือนกันทุกรูปเลยทีเดียว และลักษณะการนุ่งแบบนี้พวกเราก็แซวกันว่าเป็นการนุ่งจีวร "แบบเดฟ" ซึ่งหลังๆพวกเราก็ฝึกหัดกันจนชำนาญขึ้นเพราะมันนุ่งแล้วมั่นใจว่าจะไม่หลุดกว่าห่มแบบโคร่งๆมากมายจริงๆ 55

การห่มจีวรนั้นจะมีการห่มด้วยกันสองแบบ แบบแรกคือ "ห่มเฉวียงบ่า" คือการห่มแบบปกติของพระครับ ที่จีวรจะสะพายแล่งจากไหล่ซ้ายลงไปรักแร้ขวา กับอีกแบบคือ "ห่มคลุม" คือการห่มแบบปกคลุมทั้งกายรวมถึงไหล่ขวา ซึ่งมักจะใช้ห่มตอนบิณฑบาตร หรือเดินทางไกลๆครับ แต่ทั้งสองแบบจะมีเทคนิคการห่มแบบเดียวกัน เรียกได้ว่าถ้าจับเคล็ดได้แล้วก็นุ่งห่มได้ทั้งสองแบบเองแหละครับ

             

                       ห่มแบบเฉวียงบ่า                                               ห่มแบบคลุม

(2) สังฆทาน

เรื่องนี้เป็นประเด็นฮอตฮิตมากของที่นี่ เรียกได้ว่าถ้ามีโอกาสเมื่อไหร่หลวงพ่อท่านได้เทศนาเรื่องนี้ให้กับญาติโยมตลอด (ส่วนของพระนวกะเรานี่ครั้งเดียวก็เดินพอครับ) โดยจริงๆแล้วคำว่าสังฆทานนั้นหมายถึง การทำทานให้กับหมู่คณะครับ (สังฆะ แปลว่า หมู่คณะ) ซึ่งภาพในหัวขมองของเราก็มักจะคิดไปว่า เอ้อ ถวายสังฆทานคือการซื้อถังสีเหลืองๆ ใส่ของต่างๆนานาในนั้นจากร้านค้า แล้วเอาไปถวายวัดกะว่าพระท่านขาดเหลืออะไรก็จะได้ใช้ตามสมควร

แต่ปัญหาคือ เจตนาคนทำน่ะดี แต่ของที่พระได้รับไปนั้นได้ใช้จริงๆหรือไม่หนอ...

เรื่องของเรื่องก็คือ ของส่วนใหญ่ที่มาในถังสีเหลืองๆที่ขายตามร้านนั้น พระท่านได้ใช้จริงๆไม่กี่อย่างเท่านั้นครับ ของพวกเครื่องดื่มชงๆ (เก๊กฮวย มะตูม) เห็นเป็นกล่องแต่ข้างในมีอยู่หนึ่งซองสองซอง ที่ร้ายที่สุดก็คือผ้าอาบน้ำของพระครับ พระอาจารย์แกะออกมาจากถังให้ดูก็พบว่า อืม มันกว้างแค่ครึ่งหนึ่งของที่เราใช้กันนี่หว่า แล้วงี้พระท่านจะใช้นุ่งอาบน้ำกันจริงๆยังไงละนั่น เรียกได้ว่าพอมาถึงตรงนี้ก็รู้สึกว่าไม่ไหวจะเคลียร์แล้วกับถังพวกนี้ครับ

(มีพระรูปอื่นจากวัดอื่นก็นำมาแสดงให้ดูเหมือนกันครับ ตามนี้ http://www.youtube.com/watch?v=4uhuUt_F1d8 )

จริงๆแล้วเคล็ดของการทำสังฆทานก็ไม่น่าจะต่างจากทานทั่วๆไปหรอกครับ คือ ขอแค่เจตนาคนทำดีทั้งก่อนจะทำ ตอนทำ หลังทำ และที่สำคัญที่สุดคือการมี "ปัญญา" เพียงพอที่จะเล็งเห็นว่าทานที่เราทำไปนั้น จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้รับได้อย่างไร เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกเลยครับที่ทางวัดจะได้รับสังฆทานมาเป็นกระดาษทิชชู่ ถุงขยะสีดำ อุปกรณ์ทำความสะอาด น้ำยาล้างจาน น้ำปานะ หรือปัจจัย ฯลฯ เนื่องจากว่าคนทำสังฆทานเค้ารู้ว่าพระท่านจำเป็นต้องใช้สิ่งของเหล่านี้ครับ อย่าไปยึดติดว่าทำสังฆทานต้องซื้อถังเหลือง ผมแนะนำว่าให้เราลิสต์รายการเองครับว่าพระท่านต้องใช้สอยของอะไรบ้าง จากนั้นก็ไปซื้อมาถวายเท่านั้นเองครับ คราวนี้แหละพระท่านได้ใช้ชัวร์ๆ

อีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือ การทำสังฆทานแบบไม่เจาะจงตัวบุคคลนี่พระท่านบอกว่าได้อานิสงส์มากกว่าการทำบุญเฉพาะเจาะจงตัวบุคคลครับ และถ้าเป็นไปได้ การทำบุญแก่คนหมู่มากไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตาม (ทำทานทั่วไปกับสถานสงเคราะห์ บริจาคเลือด ฯลฯ) ก็มีอานิสงส์ประมาณสังฆทานนี่แหละครับ ซึ่งถ้ามองในมุมเศรษฐศาสตร์เรื่องการจัดการทรัพยากร ผมว่าการทำทานให้กับคนหมู่มากนี่น่าจะมีประโยชน์ต่อสังคมมากๆครับ เพราะเมื่อคนเหล่านั้นได้รับทานมาแล้ว เขาก็มีกำลังพอที่จะทำประโยชน์ให้กับคนอื่นๆในสังคมต่อไปไม่สิ้นสุด ฉะนั้นถ้าทำสังฆทานกับพระแล้ว ก็อย่าลืมทำ "ทานหมู่คณะ" ในรูปแบบต่างๆดังนี้ด้วยก็จะเป็นการช่วยเหลือสังคมได้มากเลยละครับ

(3) ศีล 227 ข้อ

ตอนเด็กๆ ผมมักจะสงสัยเสมอว่า เอ๊ะ เราๆท่านๆมี ศีล 5 ให้รักษานี่ก็น่าจะครอบคลุมแล้วนะ พระท่านถือตั้ง 227 ข้อนี่คือมันจะมีอะไรให้รักษาอีกละเนี่ย แต่ก็ลืมๆไปไม่ได้คิดอะไรขึ้นมา

จนกระทั่งบวชเรียน

พออ่านหนังสือ "นวโกวาท" (โอวาทของพระนวกะ) เลยมาถึงบางอ้อครับว่า จริงๆแล้วศีล 227 ข้อเนี่ยไม่ได้พิสดารพันลึกอะไรเลย กลับเรียบง่ายและชวนให้ย้อนกลับมาดูตัวเองตลอดเวลาที่เป็นฆราวาสด้วยซ้ำ

ข้อใหญ่ใจความจริงๆก็คือ ในสองร้อยกว่าข้อนั้น ที่เหลือหลักๆแล้วคือ "การวางตัวของพระภิกษุ" ในอิริยาบถต่างๆเท่านั้นครับ

มาดูตามบทใหญ่ๆของศีล 227 ข้อกัน

- ปาราชิก 4 (ละเมิดแล้วขาดจากความเป็นพระ) ได้แก่ เสพเมถุน เอาของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้มา แกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตาย อวดอุตริมนุสสธรรม ที่ไม่มีในตน

- สังฆาทิเสส 13 (ละเมิดแล้วต้องอยู่กรรม - กักบริเวณ) เช่น แกล้งทำน้ำอสุจิเคลื่อน มีความกำหนัดแล้วจับต้องกายหญิง/พูดเกี้ยวหญิง ฯลฯ

- นิสสัคคียปาจิตตีย์ 30 (ละเมิดแล้วต้องปลงอาบัติกับพระรูปอื่น) ในบทนี้จะเน้นเรื่องการรักษาจีวร การรับเงินทอง การซื้อของด้วยเงินทอง และการรักษาบาตร

- ปาจิตตีย์ 92 (ละเมิดแล้วต้องปลงอาบัติ) ในบทนี้จะว่าด้วยเรื่องการสำรวมในวาจา ความประพฤติ การรับประทาน การไม่ฆ่าสัตว์ การสำรวมในอารมณ์ต่างๆ ตลอดจนการนุ่งห่มจีวร

- อธิกรณสมถะ 7 (เป็นข้อถกเถียงว่าด้วยช่องโหว่ของศีล 227 ข้อ เช่น เกิดเหตุที่พระภิกษุทำการใดๆที่เหมือนจะเป็นการไม่สมควร แต่ไม่ได้ระบุไว้ตรงๆในศีล ต้องให้หมู่สงฆ์พิจารณา)

จะเห็นว่า หลักๆที่ต้องรักษาเอาไว้คือ ศีล 10 การดูแลรักษาเครื่องบริขาร (จีวร บาตร) และการสำรวมระวังในความประพฤติและอิริยาบถต่างๆครับ สองร้อยกว่าข้อที่เพิ่มขึ้นมา ก็มาจากสองส่วนหลังนี่แหละครับ

แล้วทำไมพระภิกษุต้องสำรวมระวัง หรือต้องดูแลเครื่องบริขารกันขนาดนั้น?

อย่างแรกเลยก็คือ เครื่องบริขารในสมัยพุทธกาลนั้นหายาก (ลองคิดถึงสังคมเกษตรกรรมครับ กำลังแรงงานไม่ค่อยมี แถมไม่มีเครื่องจักร จะปลูกฝ้าย ทอผ้ากันได้ผ้าซักผืนนั้นจะยากลำบากขนาดไหน) ฉะนั้นการดูแลรักษาจึงเป็นเรื่องจำเป็นมากๆ เพราะของมีจำกัดจริงๆ ถ้าไม่ระวังก็ไม่มีใช้ครับ ก็ไปลำบากเดือดร้อนญาติโยมเขาอีก ซึ่งอีกนัยหนึ่งคือการฝึกให้รู้จักความสมถะครับ ไม่ไปหวังลาภผลว่าญาติโยมเขาจะมาถวายให้ มันก็ไปลำบากเขาอีกต่อนั่นแหละ

อีกเรื่องก็คือ พระภิกษุพึงสำรวมระวังความประพฤติก็เพื่อให้เป็นที่เลื่อมใสต่อผู้คนทั่วไป ถ้าประพฤิติทั่วไปแบบฆราวาสแล้ว เวลาสั่งสอนธรรมอะไรฆราวาสทั่วไปก็คงไม่เคารพ ไปน้อมนำเอาพระธรรมเข้ามาใส่ตัวแน่ๆ และที่สำคัญที่สุดคือ การสำรวมระวังกาย วาจา ใจ นี้คือการปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสงฆ์ในตัวครับ ให้มีสติอยู่กับตัวเองตลอดเวลาอีกด้วย

ถ้าพูดง่ายๆเลยก็คือ ศีล 227 ข้อนี้มีไว้ให้สำหรับพระปฏิบัติเพื่อเป็นการ "ปฏิบัติธรรม" ตลอดเวลา อันเป็นเหตุปัจจัยให้ใกล้กับการปฏิบัติในขั้นสูงๆต่อไปนั่นเองครับ

(4) นิสสัคคียปาจิตตีย์

ที่แยกออกมาเป็นอีกหัวข้อเพราะสำคัญครับ พระนวกะหลายๆท่านอาจจะมีโอกาสเผลอแบบผมเมื่อครั้งตอนบวชวันแรกๆครับ แถมขั้นตอนการปลงอาบัตินี่ซับซ้อนกว่าปาจิตตีย์เล็กน้อย เลยขอเพิ่มเติมเพื่อจะได้ไม่ทำผิดพลาดเมื่อบวชเข้าไปแล้วครับ แหะๆ

ข้อแรกที่มีโอกาสผิดกันมากคือ เวลาตากจีวรครับ ปกติแล้วบวชพระก็จะมีจีวรอยู่สองชุด ชุดที่เรานุ่งเข้าไปบวชในอุโบสถเรียกว่า "ชุดครอง" ขณะที่จีวรสำรองอีกชุดจะเรียกว่า "อติเรกจีวร"

แล้วเกี่ยวอะไรกับการตากผ้าละฮึ???

เกี่ยวกันครับ เพราะปกติเวลาบวชแล้วต้องซักชุดครองของเรา การตากผ้าข้อควรห้ามคือ อย่าได้ตากกลางแจ้งตอนกลางคืนเป็นอันขาด และถ้าตากกลางคืนก็ต้องตากในที่ร่ม และต้องเก็บก่อนตะวันขึ้น มิฉะนั้นแล้วก็จะผิดศีลข้อนี้ไปครับ ซึ่งเหตุผลก็คือพระภิกษุมีหน้าที่ต้องดูแลรักษาเครื่องบริขารให้ดีครับ ถ้าหายไปแล้วก็จะเกิดเหตุการณ์ขัดแย้งกับบุคคลอื่นๆ ทำให้เกิดโทสะต่อกัน และอาจเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรง หรือความเดือดร้อนต่อผู้อื่นอีกก็เป็นได้ (โดยเฉพาะญาติโยมที่จะหามาถวายใหม่) ดังนั้นต้องรักษาไว้ใ้ห้ดีครับ

ถ้าตากชุดครองแล้วลืมเก็บก่อนตะวันจะขึ้น (อารมณ์ว่าวันนั้นใส่อติเรกจีวรแทน) วิธีแก้คือต้องกล่าวคำสละชุดครองนั้น และให้พระรูปอื่นกล่าวคำคืนผ้าชุดนั้นแก่เรา จากนั้นเราก็มาอธิษฐานผ้า ทำพินทุผ้า แล้วค่อยปลงอาบัติครับ (ขั้นตอนเยอะจริงๆ)

อีกอย่างหนึ่งที่อาจจะพลาดกันคือ ตามหลักแล้วพระห้ามใช้ หรือเก็บอติเรกจีวรเพื่อใช้ไว้เกิน 10 วันครับ ถ้าเกินก็โดนกันไป วิธีแก้ก็คือให้กล่าวคำสละผ้า แล้วให้พระรูปอื่นกล่าวคำคืน จากนั้นเราก็อธิษฐานผ้า ทำพินทุผ้า และปลงอาบัติครับ (ขั้นตอนเดิมเลย)

แต่ถ้าใครเก็บอติเรกจีวรไว้เกือบจะสิบวัน แนะให้ทำการสละผ้า รับคำคืนผ้า อธิษฐานผ้า และพินทุรอไว้เลยครับ (ซึ่งจริงๆถ้าจะเอาเป๊ะตามพระวินัย แบบนี้ก็ผิดครับ เพราะพระสมัยก่อนจริงๆก็น่าจะมีแค่ชุดครองเท่านั้นเอง ปกติแล้วจะเอาสังฆาฎิมาใช้แทนกันกับจีวรธรรมดาครับ แต่สมัยนี้อนุโลมเท่านั้นเอง)

ถ้าได้บวชกันแล้วก็ระวังๆเรื่องนี้ด้วยนะครับ

(5) เงิน

เวลาออกไปบิณฑบาตมักจะมีญาติโยมถวายปัจจัยครับ ตามแต่กำลังและความเหมาะสมของแต่ละคน ซึ่งจริงๆแล้วมันอาบัตินะครับ พระเลยต้องปลงอาบัติกันทุกคืนเพราะเรื่องนี้แหละ 555

แต่จริงๆแล้วมันก็อยู่ที่เจตนาด้วยครับ เวลาเราเป็นพระแล้วถ้าเราได้รับปัจจัยมาก็ไม่ต้องไปขุ่นเคืองอะไร และก็ไม่ต้องไปคิดถึงลาภผลอะไรตรงนั้น เขาให้มาก็รับเฉยๆไม่ต้องคิดอะไร จากนั้นค่อยนำไปบริจาคทำประโยชน์ให้คนอื่นก็ได้ครับ แล้วจะปลงอาบัติก็โอเคแหละครับ ของอย่างนี้มันอยู่ที่ใจจริงๆน่ะแหละ แค่ไม่ได้ยินดีในลาภผลนั้นก็เป็นใช้ได้แล้ว (แต่ก็ไม่ต้องขุ่นมัวนะครับ จะเป็นบาปเป็นโทษไปอีก)

และอีกเรื่องที่อยากจะบอกก็คือ บางทีก็อาจอนุโลมได้เรื่องการซื้อของด้วยปัจจัยครับ

ในบางกรณี เช่น ต้องเดินทางไปกิจนิมนต์โดยที่เจ้าภาพไม่ได้ขับรถพาไป แบบนี้ทำได้ครับเพราะช่วยไม่ได้จริงๆ ก็ต้องปลงอาบัติครับ ส่วนอีกกรณีคือไปบิณฑบาตแล้วทางสายนั้นไกลมาก กว่าจะเดินกลับวัดมาก็สายแล้ว (จะฉันรวมกันประมาณเจ็ดโมงครึ่งครับ ซึ่งถ้าเดินกลับไม่ทันแน่ๆสำหรับสายนั้น) แบบนี้อนุโลมให้นั่งแทกซี่กลับมาได้ครับ แล้วก็ปลงอาบัติ ซึ่งวันแรกตอนผมบวชก็ต้องนั่งแท็กซี่มากับพระพี่เลี้ยงนั่นแหละครับ แต่วันหลังๆมีโยมอุปัฎฐากช่วยขับระกระบะไปส่งให้ ก็เรียกได้ว่าสบายใจขึ้นเยอะครับ ต้องอนุโมทนาจริงๆ

เคสสุดท้ายจริงๆคือซื้อหนังสือธรรมะในวัดครับ!

อยากจะฝากว่าสุดท้ายเรื่องแบบนี้อยู่ที่ใจครับ ใจเป็นประธาน ถ้าเจตนาเราไม่ได้จะเอาเงินไปซื้อของมาบำเรอกามหรือเพื่อให้มีส่วนเกินไปจากความเป็นพระ ผมว่าก็โอเคแล้ว เวลาเราเป็นฆราวาสก็อย่าเพิ่งไปตัดสินพระจากการกระทำภายนอกโดยที่ไม่ได้สืบสาวความจริงครับ เดี๋ยวหน้าแตกไม่พอจะเป็นอกุศลทางใจไปเปล่าๆด้วย

(6) ปัจจัยสี่ 

ตอนบวชเป็นพระจะต้องท่องบทต่างๆที่ว่าด้วยการใช้สอยปัจจัยสี่อย่างสำรวมระวัง (จีวร อาหาร ยารักษาโรค และที่นอน) ข้อนี้แสดงให้เห็นถึงความสมถะ เรียบง่าย ของผู้ถือบวชอย่างชัดเจนที่สุดครับ ว่าตลอดการใช้สอยนั้นก็สักแต่ว่าใช้สอยไปเท่านั้น ไม่ได้ฉันเพื่อให้เกิดกำลังพลังทางกายส่วนเกิน ความเอร็ดอร่อย หรือความสะดวกสบาย และเพื่อให้สามารถรักษากายนี้ เอาไว้ทำประโยชน์อื่นๆต่อไปมากกว่าครับ

ข้อคิดเรื่องนี้ทำให้กลับมาดูตัวเองตอนที่เป็นฆราวาส ว่าจริงๆแล้วเราจำเป็นต้องมีอะไรบ้างในชีวิตนี้ ถึงที่สุดแล้วเมื่อหนีความตายไปไม่พ้น การใช้สอยปัจจัยสี่อย่างสำรวมระวัง ย่อมเป็นประโยชน์ต่อทั้งตนเองและผู้อื่น คือ เป็นประโยชน์ต่อตนเองในแง่ของการเจริญสติ ปฏิบัติธรรมเจริญภาวนากันตามสมควร และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นในแง่ของการประหยัดทรัพยากรในสังคม ทรัพยากรส่วนเกินใดที่เหลือก็สามารถนำไปปันให้กับผู้ที่ยังไม่มีได้ แทนที่จะมาสิ้นเปลืองกับตัวเราเพียงคนเดียวเพื่อปรนเปรอความสุขสบาย ผมว่านี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ และหวังว่าผู้ที่มีโอกาสบวชจะได้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้มากๆครับ

ส่วนใครที่ยังไม่เคยบวช จะพิจารณาดูกันก็ไม่เสียดายแต่ประการใดเลยครับ...



PS.
ขอขอบคุณรูปภาพจากเว็บไซต์ดังนี้ครับ

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=133186
http://www.toodong.com
http://news.tlcthai.com/news/104692.html

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ข้อมูลการบวชวัดชลประทานฯแบบละเอียด (Part 2: ชีวิตและกิจวัตรของพระนวกะ)

หลักจากตอนที่แล้ว (http://botsleepyboyz.blogspot.com/2014/06/part-1.html) ได้พูดถึงการเตรียมตัวบวชที่วัดชลประทานฯไปพอสมควรแล้ว คราวนี้ก็จะพูดถึงชีวิตและกิจวัตรของพระนวกะ (พระบวชใหม่) ครับ แต่จะพูดในลักษณะคร่าวๆ ทั่วไป เพื่อที่จะได้เห็นภาพรวมทั้งหมดครับว่ามันไม่ได้โหดหินน่ากลัวอะไรขนาดนั้น และที่สำคัญก็คือ ตารางกิจกรรมก็ไม่ได้ว่างจนเกินไปครับ

(1) ทำวัตรเช้า: ธรรมะรับอรุณ

โดยปกติแล้ว พระอาจารย์ท่านไม่ได้กำหนดอะไรตายตัวหรอกครับว่าต้องตื่นกี่โมง (ปกติก็ตีสามครึ่ง) แต่ที่แน่ๆก็คือเราต้องไปทำวัตรเช้ากันที่โรงเรียนพุทธธรรม (ชั้นสอง ห้องพื้นไม้ แอร์เย็นฉ่ำ - นับว่าโชคดีกว่ารุ่นสมัยก่อนเยอะเลยครับ) ตอนประมาณตีสี่ครับ พระอาจารย์ท่านจะเปิดเพลงธรรมะไม่ก็ปาฐกถาธรรม (คือเทศน์นั่นแหละ) ของท่านหลวงพ่อปัญญารอพระนวกะเอาไว้ครับ ใครไปก่อนจะฟัง หรือนั่งกัมมัฎฐานสงบใจอะไรไปก็ตามสบายครับ

เมื่อมากันพร้อมแล้วก็ถึงเวลาทำวัตรเช้ากันครับ ซึ่งการทำวัตรเช้า (รวมถึงทำวัตรเย็น) ของภิกษุสงฆ์นี้จุดมุ่งหมายก็เพื่อระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์) และการสำรวมกาย วาจา ใจ ก่อนที่จะเริ่มต้นวันใหม่ (รวมถึงก่อนจำวัด สำหรับการทำวัตรเย็น) ด้วยการสวดมนต์ครับ

ข้อดีของที่นี่คือ การสวดมนต์ทำวัตรจะไม่ใช่สักแต่ว่าท่องคำภาษาบาลีให้ดูเข้มขลังแต่ฟังไม่รู้เรื่องเท่านั้น แต่จะมีบทสวดแปลให้สวดคู่กันไปด้วย เรียกได้ว่าแปลประโยคต่อประโยคครับ เพื่อให้เราเข้าใจว่าเราท่องอะไรอยู่ และจะได้เกิดความยินดีในการระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย และหากวันไหนพระอาจารย์ท่านให้สวดบทพิเศษ (ที่ไม่ได้อยุ่ในบทสวดทำวัตรเช้า-เย็นปกติ) ก็จะยิ่งได้ประโยชน์ครับ เพราะบทพิเศษเหล่านั้น ล้วนเป็นบทที่ว่าด้วยเรื่องการปฏิบัติธรรม และหลักธรรมต่างๆที่เราเคยท่องจำกันตั้งแต่เด็ก (เช่น โอวาทปาฏิโมกข์ มรรคมีองค์แปด) หรือบทใหม่ๆที่มาเพื่อสำหรับการทำความเข้าใจในเรื่องกัมมัฎฐาน (อานาปานสติสูตร บทที่ว่าด้วยการพิจารณาสังขาร) ฯลฯ ซึ่งอันนี้แหละครับที่ผมคิดว่าคือหัวใจของการมาบวชที่นี่ทีเดียว

(สำหรับบทสวดมนต์แปลฉบับนี้ไปซื้อหามาอ่านได้ที่ร้านหนังสือตรงข้ามกุฎิสี่เหลี่ยมได้ครับ สนนราคาประมาณ 30 บาท (ถ้าอยากอ่านบทพิเศษจะมีเล่มบางๆขายแยกครับ เล่มละ 15 บาท) โดยร้านจะเปิดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ครับ ก็ไปใส่บาตรพระแล้วแวะไปหามาอ่านก็เป็นไอเดียที่ดีไม่ใช่เล่น (และยังมีหนังสือและซีดีอื่นๆดีๆอีกมากครับ ในราคาย่อมเยา แนะนำจริงๆ) )

เมื่อทำวัตรเช้าเสร็จแล้ว พระอาจารย์ท่านจะให้ "สงบใจ" ก็คือนั่งสมาธิ เจริญภาวนาอะไรไปนี่แหละครับ จากนั้นท่านก็จะเล่านิทานเซ็น หรือที่ติดปากพระนวกะว่า "ธรรมะรับอรุณ" นี่แหละครับ จากนั้นก็จบ เสร็จประมาณตีห้าครับ แต่อาจมีเลทได้ไม่เกินสิบห้านาที

(2) บิณฑบาต: วัตรปฏิบัติที่มิอาจว่างเว้น

กลับมาจากทำวัตรเช้า ก็คือเตรียมตัวไปบิณฑบาตกันครับ โดยปกติแล้วพระนวกะจะมีการแบ่งสายการเดินบิณฑบาตไปตามที่ต่างๆ และเวลาการเดินบิณฑบาตของแต่ละสายจะไม่เหมือนกัน แต่ส่วนมากจะอยู่ราวๆตีห้าครึ่ง ถึงราวๆหกโมงเช้า สำหรับสายของผมตอนนั้นคืออยู่ที่หมู่บ้านสี่ไชยทอง ไปเจอหลวงพี่ที่นำสายประมาณตีห้าสี่สิบ แล้วก็เดินเลยครับ ไปตามทาง

ตอนเป็นพระนี่เข้าใจเลยว่าเดินสำรวมเป็นยังไง กังวลจีวรว่ามันจะหลุดมั้ยบ้างละ (เดี๋ยวจะมาว่ากันด้วยเรื่องจีวรตอนหลังครับ) ต้องระวังว่าจะทำบาตรตกมั้ยบ้างละ (เป็นอาบัตินะครับ ฐานขาดสติ+ไม่สำรวม แหะๆ) ต้องระวังไม่ให้โดนตัวญาติโยม ต้องบริหารจัดการของใส่บาตรของญาติโยมว่าจะเก็บอะไรไปฉัน จะเอาอะไรให้พระท่านอื่นๆฉัน ต้องดูทางเดินว่ามีกับดัก หรือเศษแก้วหรือไม่ ฯลฯ เรียกได้ว่าเป็นการฝึกที่ดีครับ ต่อให้ง่วงแค่ไหนก็ตื่นกันแน่นอนตรงนี้ 55

ตอนเดินบิณฑบาตนี่ความรู้สึกคนละอย่างกับการเป็นฆราวาสรอใส่บาตรเลย นอกจากต้องสำรวมระวังอย่างที่ว่ามาแล้ว เวลาญาติโยมไม่ว่าจะเด็กจะแก่ไหว้เรานี่มันทำให้เราต้องกลับมาทบทวนตัวเองเสมอว่า ได้ทำตัวให้น่าไหว้น่าเคารพอย่างนั้นหรือยัง? รักษาศีล 227 ข้อได้อย่างไรแล้วบ้าง? เพราะอาหารที่ญาติโยมเอามาใส่เนี่ยมันจะมีประโยชน์สุดๆถ้าเราตั้งใจปฏิบัติครับ ไม่ว่าจะศีล หรือภาวนาก็ตาม ก็ยิ่งทำให้ต้องเอามาทบทวนตัวเองเรื่อยๆครับ ซึ่งตอนเป็นฆราวาสเราจะไม่ค่อยคิดเรื่องแบบนี้หรอก มัวแต่ไปจ้องจับผิดคนอื่น แทนที่จะพยายามจับผิดตัวเอง และขัดเกลาตนให้มากพอ

และเราจะสังเกตได้เลยครับว่าบ้านไหนเป็นขาประจำ กับขาจร และที่แน่ๆคือผมพบเบาะแสส่วนหนึ่งแล้วครับว่าบ้านไหนใส่ปลากระป๋องมาครับ ซึ่งเห็นแล้วก็ไปนึกถึงตอนยังทำค่ายแล้วมาขอปลากระป๋องที่วัดเลยทีเดียว 555

(เกือบลืมครับ พระจริงๆห้ามให้พรโยมตอนบิณฑบาตนะครับ เป็นอาบัติ เค้าถือว่าห้ามแสดงธรรมโยมตอนยืนอยู่ จะให้พรหรือแสดงธรรมได้ต่อเมื่อนั่งแล้วเท่านั้น พระที่วัดนี้เลยจะกลับมาที่วัดก่อนแล้วค่อยให้พรกันครับ)

(3) นั่งรับบิณฑบาตที่ลานหินโค้ง: เตรียมฉันมื้อเช้า

สายบิณฑบาตที่ผมสังกัดนี้จะกลับมาถึงลานหินโค้งประมาณหกโมงครึ่งครับ (มีโยมอุปัฎฐากที่บ้านและที่ทำงานอยู่แถวนั้น มาบริการรับของใส่บาตรไปใส่ในถุง และบริการส่งพระกลับวัดด้วยรถกระบะครับ (อนุโมทนาด้วยครับ) เหตุที่สายนี้ต้องนั่งรถกลับ เพราะระยะทางเดินบิณฑบาตมาค่อนข้างไกลพอสมควรครับ สายอื่นๆที่ระยะทางสั้นกว่าก็จะเดินกลับมา ประมาณนี้ครับ) ก็เดินไปถ่ายของที่ได้มาในกะละมังส่วนกลาง เก็บมื้อเช้าและเพลไว้เลยครับ จากนั้นไปนั่งรอโยมมาใส่บาตรกันไป บางวันโยมเยอะเพราะเป็นวันพระ บางวันโยมน้อยก็ไม่เป็นไรครับ ก็ว่าไปตามเรื่อง (พวกเราถึงกับมีคำพูดว่า "ไปวัดดวงกับโยม" ซึ่งหมายถึงว่าในวันนั้นได้ของบิณฑบาตน้อย และของในกะละมังกลางก็น้อย เลยต้องไปวัดดวงว่าโยมที่จะมาใส่บาตรที่ลานนั้นจะใส่อะไร เข้าทำนองไปตายเอาดาบหน้า 555)

เจ็ดโมงครึ่งก็จะให้ญาติโยมสมาทานศีล และกล่าวคำขอถวายทาน ที่นี่ผมชอบมากครับ เพราะคำถวายทานไม่ได้พูดว่า "เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ของข้าพเจ้าทั้งหลาย" แต่พูดว่า "เพื่อบริจาคและสละออก เพื่อขจัดเสียซึ่งอาสวะกิเลสทั้งหลาย (ความเห็นแก่ตัว)" ตรงนี้จับใจครับ จากนั้นพระก็จะท่องบทพิจารณาบิณฑบาตว่าไม่ได้ฉันเพื่อให้เกิดกำลังส่วนเกินนะ แต่ฉันเพื่อให้ไม่หิว จะได้สามารถทำกิจของสงฆ์ได้ทั้งวันเท่านั้น เสร็จแล้วก็เริ่มลงมือฉันเลยครับ

เวลาฉันฉันบนฝาบาตร (ได้ยินไม่ผิดครับ ฝาบาตร) และต้องสำรวมครับ วันแรกบวชใหม่ๆไม่ได้เรียนเรื่องศีลพระเจอข้าวมันไก่โยมก็โซ้ยแบบฆราวาส (มือนึงยกฝาบาตรขึ้นมา มือนึงถือช้อนซัดโฮกๆ) ก็อาบัติกันไปนะครับ 55 วันหลังๆเลยต้องวางฝาบาตรไว้ที่พื้น หั่นกับข้าวให้พอดีคำ แล้วตักมาใส่ปากแบบสำรวม (บางทีมีโยมถวายผลไม้มา ก็ลองเอาผลไม้ไปผสมกับข้าวดูครับ กะว่าจะลองพิจารณาอาหารแบบแนววัดป่ามั่ง ปรากฏว่าอร่อยกว่าเดิมครับ กิเลสหนาโดยไม่รู้ตัวแทน 55)

เสร็จแล้วก็เช็ดฝาบาตร บาตร แล้วผูกบาตรไว้ให้เรียบร้อย เวลาประมาณแปดโมง (บางวันเลทกว่านั้นครับ) ก็พร้อมกันให้พรโยมไปกรวดน้ำกันไป เสร็จแล้วก็แยกย้ายกลับกุฏิครับ โยมก็กลับบ้านกันไป ถึงตรงนี้พระนวกะจะมีเวลาราวๆหนึ่งชั่วโมง สำหรับคุยสารทุกข์สุกดิบกับญาติโยม ล้างบาตร สรงน้ำ (บางท่านร้อนมากก็สรงได้ครับ) และเตรียมตัวเข้าเรียนเวลาประมาณเก้าโมงสิบห้าครับ

(4) เรียนพระธรรม 

คาบเรียนปกติจะมีสองช่วง คือช่วงเช้า (9.15 - 10.45) และช่วงบ่าย (13.00 - 15.30) หัวข้อธรรมะก็หลากหลายครับ พระอาจารย์ทั้งหลายก็จะสับเปลี่ยนหมุนเวียนให้ความรู้กันไป ใครบวชสามสิบวันก็จะได้เรียนเยอะกว่าคนอื่นเป็นพิเศษครับ

แต่สำหรับสามวันแรก ทั้งคาบเช้าและบ่ายจะเป็นเวลาของการ "นั่งกัมมัฎฐาน" (คือนั่งสมาธินั่นแหละครับ) ตรงนี้แหละเรียกได้ว่าใครชอบปวดเมื่อยหรือวอกแวกจะเจอปัญหา เพราะรุ่นที่ผมบวชนี่พระอาจารย์ท่านเน้นนั่ง ไม่เน้นให้ฟังท่านสอน เรียกได้ว่าทำเอาผมปวดไหล่ไปเลยทีเดียว

แต่แปลกครับ ปวดหนักๆวันนึงแต่พอฝืนทำกิจวัตรอะไรไป ปรากฏตัวยืดหยุ่นขึ้น! ก้มเอานิ้วมือไปแตะนิ้วเท้าได้โดยขาไม่งอ ซึ่งตอนแรกผมทำไม่ได้แท้ๆ เลยตั้งทฤษฎีมาลอยๆเองว่า เออหรือว่าพวกฤาษีที่นั่งปฏิบัติยาวๆแล้วเค้าตัวยืดหยุ่นเล่นโยคะได้นี่เพราะนั่งขัดสมาธิยืดเส้นนานนี่เอง! ก็เดากันไปต่างๆนานา 555

แต่ตรงนี้อยากให้ตั้งใจกันครับ เพราะเป็นพื้นฐานที่สามารถเอาไปปฏิบัติต่อได้เวลาว่างๆ ขณะเดินบิณฑบาต พัก ซักจีวร ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องของแต่ละคนแต่ละท่านว่าจะปฏิบัติมากน้อยอย่างไร

ส่วนรุ่นจำพรรษาจะจัดหนักพิเศษ เจ็ดวันเต็มครับ

(5) พักผ่อน ทำวาระ และประชุมรวม

เรียนเสร็จตอนเช้าก็กลับมาฉันเพล เวลาฉันเพลก็ต้องห่มจีวรด้วยแม้ว่าจะอยู่ในกุฏิก็ตามเพื่อความสำรวม เสร็จแล้วก็ทำกิจวัตรส่วนตัว ล้างบาตร ซักจีวร สรงน้ำ (ตอนนั้นอาบวันละ 4 ครั้ง คือตอนเช้า หลังซักจีวร หลังทำวาระ (กวาดถนนวัด) และก่อนนอน) เรียกได้ว่ากว่าจะเสร็จก็ไม่มีเวลาพักผ่อนเลย (เหลือครึ่งชัวโมงก่อนเรียน ก็ทำอะไรไม่ได้มาก วันหลังๆเลยต้องลดปริมาณแฟ้บเพื่อจะได้ซักน้ำเปล่าน้อยลงแทนไป ก็ได้เวลาคืนมาพอสมควรครับ)

จริงๆเวลาว่างเค้าจะให้นั่งอ่านหนังสือ (ทางวัดแจกแบบจัดเต็มมากครับ หนังสือเทศน์ของหลวงพ่อปัญญาแก่พระนวกะรุ่นจำพรรษาทั้งสามเดือน เรียกได้ว่าอ่านจบเหมือนบวชพรรษานึงเลยทีเดียว แถมด้วยหนังสือนวโกวาทที่พระใหม่ต้องอ่าน ซึ่งว่าด้วยพระวินัย 227 ข้อ และหลักธรรมที่ควรรู้ต่างๆ และหนังสือธรรมะอื่นๆอีกมากมายที่จะแจกกันให้อ่าน สรุปคือสุดยอดครับ) แต่ส่วนมากพวกเราก็มักจะจำวัดกันครับเพราะมันเหนื่อยล้าจริงๆ บางวันท็อปฟอร์มก็จะชงกาแฟฉันไปเพื่อให้ตาสว่างอ่านหนังสือได้ครับ แต่บางวันมันไม่ไหวก็หลับไปก็มี

ส่วนทำวาระ (กวาดลานวัด ล้างห้องน้ำ) จะทำหลังจากเรียนคาบบ่ายเสร็จ จะมีการแบ่งกลุ่มไปทำครับ ก็เป็นการบำเพ็ญประโยชน์ที่ดี สร้างมิตรภาพกับเพื่อนพระนวกะ และฝึกตนได้ดีนักแลทีเดียว

เสร็จแล้ว (โดยเฉลี่ยทำกันประมาณยี่สิบนาทีถึงครึ่งชั่วโมง) ก็กลับไปสรงน้ำ พักผ่อน และรอเรียกประชุมรวมในกุฎิสี่เหลี่ยมของพระนวกะเวลาห้าโมงเย็นครับ โดยการประชุมรวมนี้พระอาจารย์ท่านจะมาพบปะพูดคุยเรื่องราวต่างๆ บางครั้งก็สอนธรรมะบางหัวข้อในหนังสือนวโกวาท ซึ่งมันจะมีรสชาดมากเมื่อท่านเล่าตัวอย่างจากประสบการณ์ที่ท่านประสบพบเจอมา ก็ได้ทั้งสาระและความสนุกสนานไปตามเรื่องครับ (ตรงนี้เราจะรู้ได้เลยว่า พระอาจารย์ท่านใจดีมากครับ ที่ดุไปก็ดุไปอย่างนั้นแหละ) ซึ่งประชุมรวมก็จะเสร็จประมาณหกโมงเย็น เพื่อให้เตรียมตัวไปทำวัตรเย็นเวลาหกโมงครึ่งครับ

(6) ทำวัตรเย็น (และเรียนธรรมะเพิ่มเติม)

ที่ไม่รวมกับทำวัตรเช้าเพราะนอกจากจะสวดมนต์แปลแล้ว ก็จะมีการนั่งกัมมัฎฐาน และบทสวดพิเศษที่พูดถึงในหัวข้อทำวัตรเช้านี่แหละครับจะเป็นหัวข้อไฮไลท์ในการเรียนพระธรรมตอนเย็นหลังสวดมนต์เสร็จ (ทำวัตรเช้าพระอาจารย์ท่านจะไม่ได้อธิบายลงรายละเอียดครับ แต่จะแค่สรุปว่าที่จะสวดกันมันคืออะไรเฉยๆ) บางวันพระอาจารย์ท่านจะนำภาพผ่าตัดศพมาเป็นการศึกษาอสุภะ (ความเน่าเปื่อยของร่างกาย) หรือเรื่องอื่นๆตามแต่ท่านจะนำมาครับ ทั้งหมดนี้ผมถือว่าเป็นการเรียนที่ดีมากๆพอสมควรเลยทีเดียว

เวลาในการทำวัตรเย็นตั้งแต่หกโมงครึ่งถึงสองทุ่มครึ่งครับ สวดจะสวดกันราวๆชั่วโมงนึง สอนอีกชั่วโมงนึง (นั่งกัมมัฎฐานแล้วแต่วันครับ บางวันนิดเดียว บางวันไม่สอนอะไรแต่ให้นั่งยาว) ถ้ามีคำถามจะตามไปถามนอกรอบหลังคาบได้ครับ โดยส่วนตัวผมชอบคาบนี้มากครับ ได้เรียนรู้อะไรมากมายที่ไม่เคยรู้จากคาบนี้จริงๆ ทำให้กลับมาดูตัวเองว่ายังไม่รู้อะไรอีกเยอะ และต้องลงมือปฏิบัติต่อไปอีกมาก

เสร็จแล้วก็แยกย้ายไปพักผ่อนครับ ส่วนมากจะปลงอาบัติกัน (ปลงเพื่อแสดงความละอายว่าไปผิดศีลอะไรในใจ แล้วบอกไปว่าวันต่อไปจะสำรวมกาย วาจา ใจ พยายามไม่ทำผิดอีก) จากนั้นก็สรงน้ำแล้วค่อยจำวัด (บางวันอยากอ่านหนังสือก็อ่านครับ อยากนั่งกัมมัฎฐานก็นั่ง) จากนั้นก็ตื่นมาตีสาม ตีสามครึ่งเพื่อทำกิจวัตรในวันต่อไปครับ (ไม่แนะนำให้นอนดึกครับ เพราะมันง่วงมากจริงๆ คอนเฟิร์ม)

*******

ทั้งหมดนี้คือกิจวัตรของพระนวกะของวัดชลประทานฯครับ สำหรับโพสต์ต่อไปจะเป็นข้อมูลเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยอื่นๆพอสังเขปเพิ่มเติมเพื่อประกอบเรื่องการใช้ชีวิตของพระใหม่ครับ